- กริยาอดีตกาล ( الفعل الماضي)
- กริยาปัจจุบันกาล (الفعل المضارع)
สิ่งต่อมาที่จะต้องทราบคือ ในคำกริยาภาษาอาหรับ จะมีอักษรที่เรียกว่า "حرف عِلَّة" คืออักษร ا، و، ي นั่นเอง
หากเเบ่งประเภทของคำกริยาภาษาอาหรับเเล้ว เราสามารถเเบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ นั่นก็คือ
- กริยาศอเหียห์ (الفعل الصحيح) คือ คำกริยาที่ปราศจาก حَرْف عِلَّة
- กริยามั๊วตัน (الفعل المعتلّ) คือ คำกริยาที่มี حرف علة หนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น
- ซาลิม (سالم) คือ คำกริยา صحيح ที่ไม่มีพยัญชนะ أ (ฮัมซะหฺ) เเละไม่มีพยัญชนะสองตัวเหมือนกัน (มีชัดดะหฺ ّ ) เช่น كَتَبَ ، جَلَسَ เป็นต้น
- มะห์มูซ (مهموز) คือ คำกริยา صحيح ที่มีพยัญชนะ أ (ฮัมซะหฺ) เช่น أَكَلَ ، قَرَأَ ، سَأَلَ เป็นต้น
- มุเฎาะอฺอัฟ (مضعَّف) คือ คำกริยา صحيح ที่มีพยัญชนะสองตัวเหมือนกัน (มีชัดดะหฺ) เช่น جَرَّ ، مَرَّ ، دَلَّ เป็นต้น
กริยามั๊วตัน (الفعل المعتلّ) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- มิษาล (مثال) คือ คำกริยา معتلّ ที่มีพยัญชนะตัวเเรกเป็น حرف علَّة เช่น وَعَدَ ، يَسَرَ ، أَكَلَ เป็นต้น
- อัจญฺวัฟ (أجوف) คือ คำกริยา معتلّ ที่มีพยัญชนะตัวกลางเป็น حرف علَّة เช่น نَامَ ، بَالَ ، قَام เป็นต้น
- นากิส (ناقص) คือ คำกริยา معتلّ ที่มีพยัญชนะตัวท้ายเป็น حرف علَّة เช่น سَعَى ، دَعَا เป็นต้น
นอกจากนี้เเล้วเรายังสามารถที่จะเเบ่ง الفعل المعتلّ ออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ...
- ละฟีฟมัฟรูก (لفيف مفروق) คือ คำกริยา معتلّ ที่มีพยัญชนะตัวเเรกและตัวสุดท้ายเป็น حرف علَّة เช่น وَقَى ، وَعَى เป็นต้น
- ละฟีฟมักรูน (لفيف مقرون) คือ คำกริยา معتلّ ที่มีพยัญชนะตัวกลางเเละตัวท้ายเป็น حرف علَّة เช่น عَوَى ، نَوَى ، كَوَى เป็นต้น
วิธีการผันกริยา ::::> สามารถอ่านเเละทำความเข้าใจอย่างละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติม
หรือดาวโหลดได้ที่นี
หรือดาวโหลดได้ที่นี
ดาวโหลดไฟล์
ชนิดไฟล์ : .pdf I ขนาดไฟล์ : 871 KB
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น