ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

ภาษาถิ่นอาหรับ

ความหมายของภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียง ทั้งนี้ภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่าการกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ดังนั้นจากความหมายดังกล่าวเราอาจจะให้ความหมายขของ ภาษาถิ่นอาหรับ คือ ภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นอาหรับ ซึ่งมีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียง - ผู้เรียบเรียง

แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก
1. ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสังคมหนึ่งๆ
2. ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)
3. ภาษาเฉพาะวงการ
4. ภาษาสแลง
หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้นหรือถูกดัดแปลงในทุกกรณี

ประเภทของภาษาถิ่นอาหรับ
ภาษาถิ่นอาหรับแบ่งตามพื้นที่ของผู้พูดอีก 5 กลุ่ม โดย อลี อับดุลวาเฮด วาฟีย์ (‘Alīy Abd al-Wāhid Wāfīy, n.d. : 149) ได้แบ่งออกเป็นสำเนียงถิ่นต่าง ๆ ดังนี้
1. ภาษาอาหรับถิ่นฮิญาซและนัจด์ รวมถึงภาษาถิ่นย่อยที่ใช้พูดในฮิญาซ นัจด์และเยเมน
2. ภาษาอาหรับถิ่นซีเรีย รวมถึงภาษาถิ่นย่อยที่ใช้พูดในซีเรีย เลบานอน ปาเลสไตน์และภาคตะวันออกของจอร์แดน
3. ภาษาอาหรับถิ่นอิรัก รวมถึงภาษาถิ่นย่อยต่าง ๆ ที่ใช้พูดในอิรัก
4. ภาษาอาหรับถิ่นอียิปต์ รวมถึงภาษาถิ่นย่อยที่ใช้พูดในอียิปต์กับซูดาน
5. ภาษาอาหรับถิ่นโมร็อกโก รวมถึงภาษาถิ่นย่อยที่ใช้พูดในทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา

โดยภาษาอาหรับถิ่นในแต่ละกลุ่มจะมีภาษาถิ่นย่อยอีกหลายภาษา อย่างเช่น ภาษาถิ่นอียิปต์ก็จะมีภาษาถิ่นย่อยอีกหลายร้อยภาษาซึ่งจะแตกต่างกันตามพื้นที่ที่ผู้พูดอาศัยอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจจะพบว่า หมู่บ้าน 2 แห่งที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน มีภาษาถิ่นย่อยที่แตกต่างกันทั้งในด้านการออกเสียงคำศัพท์และสำนวนการใช้ แต่ถึงแม้ว่าภาษาถิ่นจะมีความแตกต่างกันแต่ผู้พูดในแต่ละภาษาก็จะสามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ ทั้งนี้เนื่องจากศัพท์แต่ละคำล้วนมาจากรากศัพท์คำเดียวกันจึงทำให้ผู้พูดสามารถเดาความหมายของคำนั้น ๆ ได้ รวมถึงการแพร่ขยายด้านการติดต่อสื่อสารในปัจจุบัน ก็ได้ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์มากขึ้นในรูปของการท่องเที่ยวและการอพยพของคนงาน การขยายตัวในด้านการรู้หนังสือทำให้ชาวอาหรับคุ้นเคยภาษาถิ่นย่อยของกันและกัน ฉะนั้นแต่เดิมชาวอาหรับตะวันออกอาจจะมีความยากลำบากในการที่จะเข้าใจภาษาอาหรับถิ่นของชาวโมร็อกโก และแอลจีเรียแต่ในปัจจุบันคนทั้งสองสามารถสื่อสารเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี
--------------------------
อิบนู อะหมัด - เรียบเรียง

อ้างอิง
http://th.wikipedia.org
มูหัมมัดมันซูร หมัดเร๊าะ. อิทธิพลของวัฒนธรรมอาหรับต่อสังคมมลายูในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์อิสลามศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, หน้า 87-88.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น