อับดุลวะฮาบ อัลบะยาตีย์ (Abdul Wahab Al-Bayati, 1926-1999) กวีผู้ถูกเนรเทศผู้เสียชีวิตในวัย 73 ปี และเจ้าของฉายานามว่า "ซินแบตแห่งกวีนิพนธ์อาหรับ" นี้ เกิดและสำเร็การศึกษาจากแบกแดด จบจากวิทยาลัยครูเมื่อปี 1950 และเริ่มจับงานวรรณกรรมในรูปแบบของบทกวีนับตั้งแต่นั้นมา
ปลายปี 1955 เขาถูกบังคับให้ออกไปจากอิรัก ในฐานะผู้ลี้ภัยการเมืองพำนักในเลบานอน เป็นที่แรกและย้ายไปยังอียิปต์และซีเรีย ระหว่างนี้บทกวีของเขาตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ ในโลกอาหรับ และปีต่อมาเขารับตำแหน่งกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อัลญุมฮูรียะห์ (หนังสือพิมพ์สาธารณรัฐ) ซึ่งตีพิมพ์ที่กรุงไคโร บทกวีที่ได้รับความนิยมและสร้างชื่อให้เขาได้แก่ "บทกวีของผู้ถูกเนรเทศ" ตีพิมพ์ในปี 1957 เป็นบทกวีชุดที่ 4 ของเขาที่พิมพ์ในอียิปต์จากนั้นปีถัดมาเขาเข้าเป็นผู้อำนวยการประจำศูนย์การแปลและการพิมพ์ของกระทรวงศึกษาธิการอิรัก ปี 1960 อัลบะยาตีย์ เนรเทศตัวเองไปอยู่ยุโรปในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี เขาเขียนบทกวีชื่อ "โปรดคืนข้าสู่มาตุภูมิ" ซึ่งเป็นที่รู้จักและประทับใจแก่คนอ่านยิ่งนัก โดยต่อมาในปี 1961เขาลี้ภัยอยู่ในกรุงมอสโก และเป็นผู้บรรยายประจำสถาบันประชาชนเอเชียและกลับมาตุภูมิในปี 1972 เป็นที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมของกระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม จนกระทั่งปี 1995 เขาถูกรัฐบาลอิรักถอนสัญชาติ
อัลบะยาตีย์ มิได้เพียงเขียนบทกวีที่หลุดพ้นจากรูปแบบฉันทลักษณ์เท่านั้น แต่เขายังนำบทกวีไปสู่ความคิดอ่านในมิติใหม่ ก่อความตื่นตาตื่นใจให้ผู้อ่าน และกวีอาหรับร่วมสมัยคนอื่นๆ ด้วย เขาศรัทธาในมนุษยธรรมและคตินิยมอาหรับสากล และมีสัญลักษณ์การปลุกเร้าในบทกวีในเชิงเพื่อมนุษยชาติ งานเขียนของเขาตลอดระยะเวลากว่า 4 ทศวรรษ มีเอกลักษณ์ที่คงความเห็นใจผู้อื่นและเข้าใจการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพคนจน และประชาชนโลกที่สามที่ถูกรุกรานครอบครองจากกองกำลังต่างชาติ
ปลายปี 1955 เขาถูกบังคับให้ออกไปจากอิรัก ในฐานะผู้ลี้ภัยการเมืองพำนักในเลบานอน เป็นที่แรกและย้ายไปยังอียิปต์และซีเรีย ระหว่างนี้บทกวีของเขาตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ ในโลกอาหรับ และปีต่อมาเขารับตำแหน่งกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อัลญุมฮูรียะห์ (หนังสือพิมพ์สาธารณรัฐ) ซึ่งตีพิมพ์ที่กรุงไคโร บทกวีที่ได้รับความนิยมและสร้างชื่อให้เขาได้แก่ "บทกวีของผู้ถูกเนรเทศ" ตีพิมพ์ในปี 1957 เป็นบทกวีชุดที่ 4 ของเขาที่พิมพ์ในอียิปต์จากนั้นปีถัดมาเขาเข้าเป็นผู้อำนวยการประจำศูนย์การแปลและการพิมพ์ของกระทรวงศึกษาธิการอิรัก ปี 1960 อัลบะยาตีย์ เนรเทศตัวเองไปอยู่ยุโรปในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี เขาเขียนบทกวีชื่อ "โปรดคืนข้าสู่มาตุภูมิ" ซึ่งเป็นที่รู้จักและประทับใจแก่คนอ่านยิ่งนัก โดยต่อมาในปี 1961เขาลี้ภัยอยู่ในกรุงมอสโก และเป็นผู้บรรยายประจำสถาบันประชาชนเอเชียและกลับมาตุภูมิในปี 1972 เป็นที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมของกระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม จนกระทั่งปี 1995 เขาถูกรัฐบาลอิรักถอนสัญชาติ
อัลบะยาตีย์ มิได้เพียงเขียนบทกวีที่หลุดพ้นจากรูปแบบฉันทลักษณ์เท่านั้น แต่เขายังนำบทกวีไปสู่ความคิดอ่านในมิติใหม่ ก่อความตื่นตาตื่นใจให้ผู้อ่าน และกวีอาหรับร่วมสมัยคนอื่นๆ ด้วย เขาศรัทธาในมนุษยธรรมและคตินิยมอาหรับสากล และมีสัญลักษณ์การปลุกเร้าในบทกวีในเชิงเพื่อมนุษยชาติ งานเขียนของเขาตลอดระยะเวลากว่า 4 ทศวรรษ มีเอกลักษณ์ที่คงความเห็นใจผู้อื่นและเข้าใจการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพคนจน และประชาชนโลกที่สามที่ถูกรุกรานครอบครองจากกองกำลังต่างชาติ
นคร
(๑)
ครั้นเมื่อมหานครเปลือยร่างของเธอ
ฉันเห็นในดวงตาของเธอโศกเศร้า :
เห็นความห่วยแตกของชนชั้นนำ หัวขโมยและนักรับจำนำ
ฉันเห็นในดวงตาของเธอ : ตะแลงแกง
ถูกตระเตรียมเอาไว้ ทั้งห้องขังและเตาเผา
ความรันทด ความสับสนอลหม่านและควันโขมง
ฉันเห็นในดวงตาของเธอ : มวลมนุษย์
ยึดติดราวกับดวงแสตมป์
ที่เกาะแน่นกับทุกสิ่ง
ฉันเห็น : เลือดและอาชญากรรม
กล่องไม้ขีดไฟ และถังเนื้อ
ฉันเห็นในดวงตาของเธอ : วัยเยาว์ของเด็กกำพร้า
ร่อนเร่พเนจร คุ้ยเขี่ยไปตามถังขยะ
เพื่อหาเศษกระดูกสักชิ้น
เพื่อหาดวงจันทร์ที่ดับแสง
บนซากศพของบ้านที่พักพิง
ฉันเห็น : คนของพรุ่งนี้
ปรากฏตัวหน้าโรงเก็บของ
บนหน้าของเหรียญ
และในปล่องไฟ
ห้อมล้อมด้วยความโศกศัลย์
และความมืดดำทะมึน
ตำรวจ พวกรักร่วมเพศ และแมงดา
ถ่มถุยอยู่ในดวงตาของเธอ
ฉันเห็นในดวงตาของเธอโศกเศร้า :
สวนแห่งขี้เถ้า
จ่อมจมในร่มเงาและความเงียบสงบ
(๒)
ครั้นแล้วสนธยากาลก็ห่อหุ้มร่างอันเปลือยเปล่าของเธอไว้
และความสงัดปกคลุมบ้านอันมืดบอดของเธอด้วย
เธอถอดถอนหายใจ
แล้วยิ้มทั้งที่ซีดเซียวจากความป่วยไข้
ทว่านัยน์ตาสีดำของเธอกลับทอประกายปลื้มปีติและไร้เดียงสา
(๑)
ครั้นเมื่อมหานครเปลือยร่างของเธอ
ฉันเห็นในดวงตาของเธอโศกเศร้า :
เห็นความห่วยแตกของชนชั้นนำ หัวขโมยและนักรับจำนำ
ฉันเห็นในดวงตาของเธอ : ตะแลงแกง
ถูกตระเตรียมเอาไว้ ทั้งห้องขังและเตาเผา
ความรันทด ความสับสนอลหม่านและควันโขมง
ฉันเห็นในดวงตาของเธอ : มวลมนุษย์
ยึดติดราวกับดวงแสตมป์
ที่เกาะแน่นกับทุกสิ่ง
ฉันเห็น : เลือดและอาชญากรรม
กล่องไม้ขีดไฟ และถังเนื้อ
ฉันเห็นในดวงตาของเธอ : วัยเยาว์ของเด็กกำพร้า
ร่อนเร่พเนจร คุ้ยเขี่ยไปตามถังขยะ
เพื่อหาเศษกระดูกสักชิ้น
เพื่อหาดวงจันทร์ที่ดับแสง
บนซากศพของบ้านที่พักพิง
ฉันเห็น : คนของพรุ่งนี้
ปรากฏตัวหน้าโรงเก็บของ
บนหน้าของเหรียญ
และในปล่องไฟ
ห้อมล้อมด้วยความโศกศัลย์
และความมืดดำทะมึน
ตำรวจ พวกรักร่วมเพศ และแมงดา
ถ่มถุยอยู่ในดวงตาของเธอ
ฉันเห็นในดวงตาของเธอโศกเศร้า :
สวนแห่งขี้เถ้า
จ่อมจมในร่มเงาและความเงียบสงบ
(๒)
ครั้นแล้วสนธยากาลก็ห่อหุ้มร่างอันเปลือยเปล่าของเธอไว้
และความสงัดปกคลุมบ้านอันมืดบอดของเธอด้วย
เธอถอดถอนหายใจ
แล้วยิ้มทั้งที่ซีดเซียวจากความป่วยไข้
ทว่านัยน์ตาสีดำของเธอกลับทอประกายปลื้มปีติและไร้เดียงสา
ข้อมูลโดย ซะการีย์ยา อมตยา (กวีมุสลิมรางวัลซีไรต์ ปี 2553)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น