ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

รู้จัก "คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ" ม. อัลอัซฮัร


หลายคนใฝ่ฝันจะเดินทางมาศึกษาต่อยังประเทศอียิปต์  ในระดับปริญญาตรีของ ม. อัลอัซฮัร  นับจากนี้เป็นต้นไป... "เปิดโลกการศึกษามุสลิม"  ขอเจาะลึกคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร โดยผ่านตัวแทนที่ได้คัดเลือกเพื่อพูดคุยถึงความยากลำบากของวิชาที่ต้องศึกษาทั้งหมดในคณะนั้นๆ

รวมถึงการใช้ชีวิตในแต่ละวันกับสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสังคมนักศึกษาสังคมอาหรับ  เพื่อเป็นแนวทางเเละการเริ่มต้นที่ดีเมื่อเริ่มเข้ารับการศึกษาใน ม. อัลอัซฮัร

ลืนวัตร แสงวิมาน  หนุ่มจากภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช  ผู้อยากสานฝันซึ่งเป็นความหวังของพ่อ เพื่อกลับไปพัฒนาหมู่บ้าน "จูลี" คือ ชื่อเล่นที่พี่ๆ น้องๆ เรียกสถาบัน ม. อัลอัซฮัรใช้เรียกกัน

 "จูลี"  เล่ากันว่า ก่อนมายังประเทศอียิปต์ ได้ศึกษาศาสนาที่โรงเรียนประทีปศาสน์ (ปอเนาะบ้านตาล) ในระดับมัธยมต้นและได้ทุนมาศึกษายังประเทศอียิปต์ในระดับมัธยมปลาย ที่สถาบันศึกษาอัลบูอูสอิสลามียะห์ อัลอัซฮัรในปี ค.ศ. 1999  หรือ พ.ศ. 2542 แม้ว่าตัวเองจะเป็นเด็กทุนของอัลอัซฮัร มาจากเมืองไทย เเต่ไม่ใช่ว่าจะได้เข้าหอพักในทันที  เพราะหอพักไม่ว่าง ต้องอาศัยอยู่หอนอกเป็นเวลา 5  เดือน กว่าจะได้เข้าหอพัก

"ในช่่วงแรกๆ นักศึกษาที่อยู่ในหอพักจะได้เงินเดือนละ 92 ปอนด์อียิปต์  ประมาณ 552 บาท โดยมีอาหารสามมื้อ เช้า เที่ยง เย็น  หอพัก  ค่าน้ำ  ค่าไฟฟรีทุกอย่าง ส่วนนักศึกษาทุนที่พักนอกหอจะได้เงิน เดือนละ 150 ปอนด์อียิปต์  ประมาณ 900 บาท  ต่ออาหาร ที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ต้องจ่ายเองทั้งหมด"

ต่อมาในปี  2554  ทางหอพักนักศึกษา ได้เพิ่มเงินจาก 90 ปอนด์สหรับนักศึกษาที่อยู่ในหอพักเป็นสองร้อย 200 ปอนด์อียิปต์  เเละนักศึกษาทุนที่อยู่นอกหอพักเป็น 330  ปอนด์  เเต่ถ้าคิดเเล้วก็ไม่พออยู่ดี เพราะปัจจุบันค่าครองชีพอียิปต์สูงมาก ทำให้ลำบากกันพอสมควรเลยทีเดียว

"จูลี" ใช้วลาเรียนมัธยมปลายอัลอัซฮัร อยู่ 3 ปี ก็ได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยในคณะดีรอซาต อัลอิสลามียะห์ วัลอะรอบียะห์  หรืออิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ  ซึ่งเป็นคณะที่มีคนไทยหรือชาวต่างชาติศึกษาน้อยที่สุด

เหตุผลหลักที่ จูลี  เข้าเรียนคณะนี้ เพราะเป็นวิชาที่ต่อเนื่องจากการเรียนมาตั้งเเต่ระดบมัธยมปลาย  การเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัยของจูลี เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะตื่นเต้นสักเท่าไหร่  เพราะได้สัมผัสชีวิตจริงของการศึกษาในระดับมัธยมมาก่อน  ซึงเป็นที่รู้จักกันว่า "ระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย" ของสถาบันแห่งนี้มีความยากเหมือนกับมหาวิทยาลัยทั้งในเเง่ของการศึกษาและการใช้ชีวิต จะต่างกันก็ตอนเข้ามหาวิทยาลัยไม่ต้องเข้าเรียนเท่านั้นเอง  วิชาของคณะฯ นี้ ปีหนึ่งมี 14 วิชา

  1. วิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรม
  2. วิชาเทววิทยา
  3. หลักวิชาการอ่านอัลกุรอาน
  4. วิชาพื้นฐานอิสลาม
  5. วิชาอัลกุรอาน
  6. วิชาวจนะและความรู้เกี่ยวกับวจนะศาสดา
  7. การแต่งกลอน
  8. วิชาวาทศาสตร์
  9. ไวยกรณ์อาหรับ
  10. การผันอักษรภาษาอาหรับ
  11. อิสลามนิกายอิม่านชะฟีอีย์
  12. ประวัติศาสตร์การออกกฎหมายอิสลาม
  13. วรรณคดีเเละตัวบท
  14. การแปล
ส่วนรายวิชาในปีสอง ปีสามและปีสุดท้ายจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป...



บทความโดย  ดลหมาน  ผ่องมะหึง
ผู้สื่อข่าว ดิ อะลามี่ ประจำกรุงไคโร (ภาคพื้นตะวันออกกลาง)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น