ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

จำนวนนับ (العدد والمعدود)

จำนวนนับ ( العدد والمعدود)  หมายถึง  สิ่งที่บ่งบอกถึงจำนวนของคำนาม  โดยมันจะต้องสอดคล้องกับกฎของการบอกจำนวนนับตามไวยากรณ์  ซึ่งในภาษาอาหรับจะมีประเภทและกฎที่แน่นอน ในทางความหมายของคำว่า “العدد والمعدود” อาจจะแยกความหมายของคำทั้งสองได้ว่า  العدد  คือ จำนวนนับ และ  المعدود คือ สิ่งที่ถูกนับ

ประเภทของจำนวนนับ
ในภาษาอาหรับการนับจำนวนของคำนามจะมีการแบ่งประเภทออกเป็น  4 ประเภท ดังนี้
  1. อัลมุฟรอด  (المفرد)  คือ การนับจำนวนคี่ตั้งแต่ 1-10 
  2. อัลมุร็อกกับ (المركَّب)  คือ การนับจำนวนตั้งแต่ 11-19 
  3. อัลอุกูด  (العقود)  คือ การนับที่เป็นหลักสิบ คือ 20,30,40,50, … ,90
  4. อัลมะอฺฏูฟ  (المعطوف) คือ การนับจำนวนตั้งแต่ 21-99  การนับประเภทนี้จะไม่นับรวมกับการนับแบบอัลอุกูด (العقود) 
กฎของจำนวนนับ
1. อัลมุฟรอด  (المفرد)  การนับจำนวนคี่ตั้งแต่ 1-10 มีการวางกฎการนับ ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับเพศของคำนาม  ตัวอย่าง เช่น 


หากพิจารณาจากประโยคข้างต้นจะเห็นได้ว่า อัลอะดัด ((العدد และอัลมะอฺดูด (المعدود) จะมีความขัดแย้งกันในเรื่องเพศ สรุปได้ว่า
-  ถ้าหากว่าสิ่งที่ถูกนับเป็นเพศชาย จำนวนนับที่อยู่ก่อนหน้าจะต้องเป็นเพศหญิง -
-  ถ้าหากว่าสิ่งที่ถูกนับเป็นเพศหญิง จำนวนนับที่อยู่ก่อนหน้าจะต้องเป็นเพศชาย -
-  ส่วนการลงสระท้ายของอัลอะดัดและมะอฺดูดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมันในประโยค


* คำนามที่ไม่มีสติปัญญา (غير العاقل) เช่น สัตว์  สิ่งของ  ในกรณีเรื่องจำนวนนับเมื่อมันกลายรูปเป็นพหูพจน์ มันยังคงสภาพเพศเดิมอยู่ (รูปเอกพจน์)  ซึ่งต่างจากเรื่องของการบอกลักษณะนามของคำนาม (الصفة) และเรื่องประธาน และภาคแสดง  (المبتدأ وخبره) ที่ว่าเมื่อคำนามเอกพจน์ที่ไม่มีสติปัญญาเปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์  เพศของคำนามนั้นๆ จะเปลี่ยนรูปเป็นเพศหญิงทันที  ตัวอย่าง เช่น أقلامُ جميلةٌ ،  الأشجارُ متنوِّعةٌ  ซึ่งในเรื่องการนับอัลมุฟรอด เรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น

ตัวอย่างการนับแบบอัลมุฟรอด  (المفرد

1.      لهذه السيَّارةِ أربعةُ أبوابٍ  
2.      يأكُلُ ثلاثُ أبقَارٍ عُشبًا
3.      أعضاءُ اتحادِ دول جنوب شرق آسيا عَشَرُ دولٍ
4.      لي أربعةُ إخوةٍ 
5.      رأيتُ ثلاثَ أخَوَاتٍ
6.      نظرتُ إلى عَشَرَةِ رُكَّابٍ

2. อัลมุร็อกกับ (المركب)  คือ การนับจำนวนตั้งแต่ 11-19  มีกฎการนับสรุปได้ ดังนี้


ตัวอย่างการนับแบบอัลมุร็อกกับ (المركّب

1.      في جنوب تايلاند أربعَ عَشْرَةَ ولايةً  
2.      ثمنُ هذا الكتابِ سَبْعَةَ عَشَرَ ريالًا
3.      نظر إلى اثنتَي عَشَرَةَ بنتًا    
4.      الطلابُ في فصلنا ثلاثةَ عَشَرَ طالبًا
5.      في هذه المنطقة اثنا عشرَ مسجدًا
6.      مرّ بِتِسْعَةَ عشَرَ رجلًا

3. อัลอุกูด  (العقود)  คือ การนับที่เป็นหลักสิบ คือ 20,30,40,50, … ,90  มีกฎการนับสรุปได้ ดังนี้



ตัวอย่างการนับแบบอัลอุกูด (العقود
1.      بحث خمسون باحثًا عن الكتب.  
2.      رأيتُ أربعين طالبًا في المكتبة.
3.      في الفصلِ عِشْرُوْنَ طالبًا
4.      ذهبتُ إلى ثلاثين طالبة

4. อัลมะอฺฏูฟ  (المعطوف) คือ การนับจำนวนตั้งแต่ 21-99  การนับประเภทนี้จะไม่นับรวมกับการนับแบบอัลอุกูด (العقود) มีกฎการนับสรุปได้ ดังนี้


ตัวอย่างการนับแบบอัลมะอฺฏูฟ  (المعطوف)
1.      سَفَرَ وَاحِدٌ وعِشْرُوْنَ طالبًا إلى ماليزيا
2.      حَضَرَ اِثْنَانِ وعِشْرُوْنَ مشتركًا في المؤتمرِ.
3.      جاءَ اليومَ ثلاثةٌ وثلاثون طالبًا.
4.      نظرنَا إلى ثلاثةٍ وستِّين طالبةً

>> อ่านและทำความเข้าใจบทเรียนเสร็จเเล้ว อย่าลืมเเวะเข้าไปทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับจำนวนนับด้วยน่ะครับ ที่นี่  http://psuarab.blogspot.com/2013/02/blog-post.html <<

 แนะนำแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

อิบนู อะหมัด
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ:
อิบนู อะหมัด นักศึกษาเอกภาษาอาหรับ รหัส 52
นักเขียนคอลัมทั่วไปบนเว็บบล็อกเอกภาษาอาหรับ ม.อ. ปัตตานี
"เป้าหมายสูงสุดในการเรียนภาษาอาหรับ คือการเผยแพร่สิ่งที่ร่ำเรียนมา"
ติดตามนักเขียน FB @ Emronarab

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น