ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอาหรับ จากหนังสือศาสนา



1. قاضي - กอฎี คือบุคคลที่ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เกี่ยวกับหลักการศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาตัดสินคดีความประเทศมุสลิมที่มีการนำเอากฎหมายอิสลามมาใช้ หรือคดีความที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายอิสลาม เช่นเรื่องครอบครัว มรดก เป็นต้น

2. قذف - ก็อซฺฟ์ คือ การปรักปรำหรือการใส่ร้ายส่วนใหญ่เกี่ยวกับการให้ร้ายหญิงบริสุทธิ์ว่ามีชู้หรือผิดประเวณี

3. كفارة - กัฟฟาเราะฮฺ คือ การไถ่โทษการชดใช้หรือชดเชยสำหรับความผิดหรือความบกพร่องบางประการ เช่น การละเมิดประเวณีขณะถือศีลอด เป็นต้น

4. قيامة - กิยามะฮฺ คือการฟื้นคืนชีพ หรือการเป็นขึ้นจากความตายโดยอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อรอรับการพิพากษาความดีความชั่วที่กระทำไประหว่างมีชีวิตอยู่ในโลกนี้การฟื้นคืนชีพจะบังเกิดขึ้นในปรโลก

5. كفر - กุฟรฺ คือการปฏิเสธหรือไม่เชื่อในพระบัญญัติของพระองค์ไม่ยอมรับศาสนาและวิถีการดำเนินชีวิตที่พระองค์ทรงประทานให้ สรุปก็คือการปฏิเสธอิสลาม “กาฟิร”หมายถึง ผู้ปฏิเสธ

6. شريعة - ชะรีอะฮฺ คือครรลองที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มนุษยชาติสำหรับดำเนินชีวิตในโลกนี้ มักจะมีผู้แปลว่ากฎหมายอิสลาม

7. شيطان - ชัยฏอน คือมารร้ายหรือศัตรูของมนุษย์ที่คอยชักนำหลอกลวงและโน้มนำมนุษย์ให้ฝ่าฝืนและปฏิเสธพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า ภาษาอังกฤษเรียกว่า “ซาตาน”

8. شرك - ชิรกฺ คือ หรือชิริกหมายถึงการยอมรับว่าบางสิ่งบางอย่างมีอำนาจร่วมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือมีอำนาจเสมอเหมือนพระองค์จนทำให้มนุษย์เราต้องสักการะบูชาหรือให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้นอย่างสูงส่ง เช่นการกราบไหว้รูปปั้น การยึดพระเยซูเป็นพระเจ้า การดูหมอ การเชื่อถือโชคลางและไสยศาสตร์ รวมทั้งการยึดเอาอารมณ์ต่ำเป็นใหญ่ฯลฯส่วนใหญ่มีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่าการตั้งภาคีต่อพระเจ้า

9. زكاة - ซะกาต คือ ทานบังคับ หมายถึงหลักปฏิบัติประการหนึ่งที่ศาสนาอิสลามกำหนดให้ผู้มีรายได้จำนวนหนึ่งบริจาคเงินทองทรัพย์สินมีค่าปศุสัตว์และพืชผักให้แก่คนยากจนคนขัดสน หรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเพื่อนำไปจัดสรรเป็นสวัสดีการแก่ผู้ยากไร้ในสังคมหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์

10. زنا - ซินา คือ การละเมิดประเวณี การมีชู้หรือการร่วมประเวณีทุกรูปแบบที่ไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายอิสลามไม่ว่าจะด้วยการยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่ายก็ตาม ถือเป็นความผิดบาปที่สาหัสมากในทัศนะของอิสลาม

11. سورة - ซูเราะฮฺ คือ ส่วนหนึ่งในคัมภีร์อัล-กุรอานมักจะมีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่า “บท”ทั้งหมดมีอยู่ 114 บท

12. جماعة - ญะมาอะฮฺ คือ หมายถึง กลุ่ม คณะสมาคมหรือกรกระทำที่ประกอบด้วยคนหลายคนบางที่ก็มีผู้ใช้ในความหมายของพรรคการเมืองเช่น ญะมาอะฮฺ – สลามมีย์ในประเทศปากีสถานถ้าใช้กับการปฏิบัติศาสนกิจเช่น การละหมาดหมายถึงการละหมาดร่วมกันของคนหลายคนมีผู้หนึ่งทำหน้าที่เป็น “อิมาม” (ผู้นำ) และคนที่เหลือเป็นมะอฺมูม (ผู้ทำตาม)

13. جنة - ญันนะฮฺ คือ สวนสวรรค์ หมายถึงสถานที่พำนักอันถาวรที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตอบแทนให้กับผู้ศรัทธา และผู้ปฏิบัติตามแนวทางของพระองค์ผู้ศรัทธาจะได้สวนสวรรค์เป็นรางวัลในปรโลก

14. جاهلية - ญาฮิลียะฮฺ คือสภาพแห่งความป่าเถื่อนโหดร้ายความงมงายอนารยธรรมและการไร้ทางนำจากพระผู้เป็นเจ้า มักจะมีผู้แปลว่าความเขลา หรือความงมงายถ้าเกี่ยวข้องกับเวลา เช่น ยุค/สมัยญาฮียะฮฺ หมายถึงยุคป่าเถื่อนก่อนการเผยแผ่ของอิสลามโดยท่านนบีมุหัมมัด นักปราชญ์อิสลามสมัยใหม่รวมสมัยปัจจุบัน (ศตวรรษที่ 20) เป็นสมัยญาฮิลียะฮฺด้วยเพราะสภาพโดยทั่วไปไม่ต่างไปจากสิ่งที่อุบัติขึ้นก่อนอิสลาม

15. جهاد - ญิฮาด คือการดิ้นรนต่อสู้ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้าหรือการทำสงครามเพื่อปกปักรักษาอิสลาม และแผ่นดินของอิสลามเอาไว้นักปราชญ์สมัยใหม่ขยายการญิฮาดออกไปจนเกินความถึงความพยายามทุกอย่างเพื่อเชิดชูอิสลามเช่น การญิฮาดด้วยปากกา การญิฮาดด้วยสื่อสารมวลชน เป็นต้น ท่านนบีมุหัมมัด บอกว่าการทำสงครามกับจิตใจของตนเองนั้นหนักหนาสาหัสกว่าการทำสงครามด้วยอาวุธเสียอีก

16. جن - ญิน คืออรูปประเภทหนึ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างขึ้นมาจากไฟญินเป็นสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็นญินมีทั้งที่ศรัทธาต่อพระเจ้า และที่ปฏิเสธพระองค์ ญินอาศัยอยู่บนหน้าโลกตั้งแต่ครั้งก่อนที่พระเจ้าจะสร้างมนุษย์คนแรก (อาดัม)

17. جلباب - ญิลบาบ คือเสื้อคลุมสำหรับสตรีสวมใส่ขณะออกนอกบ้านสื้อคลุมชนิดนี้จะปกปิดทุกสัดส่วนของร่างกายรวมทั้งใบหน้าเป็นชุดยาวถึงพื้น ไม่รัดรูป

18. جمعة - ญุมอะฮฺ คือ หรือมักจะเรียกกันว่า “ยุมอัต”คือ วันที่หก หรือวันศุกร์เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในสัปดาห์เพราะอิสลามกำหนดให้มีการชุมนุมทำละหมาดในเวลาเที่ยงของวันศุกร์บางประเทศถือเป็นวันหยุดราชการ

19. طلاق - เฏาะลากฺ คือการหย่าร้างหรือการแยกทางกันของสามีและภรรยาเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการสมรสหรือการยกเลิกสัญญาการแต่งงานนั่นเอง (ดูในหนังสือ)

20. دينار - ดีนารฺ คือ เงินเหรียญของของอาหรับ (ในสมัยโบราณ) เท่ากับทองหนักขนาดเมล็ดข้าวบาร์เล่ย์จำนวน 96 เมล็ด (หนึ่งเมล็ดหนัก 0.0648 กรัม)

21. درهم - ดิรฮัม คือ เหรียญเงินของอาหรับ (ในสมัยโบราณ) ขนาดเล็กน้ำหนักและมูลค่าของเหรียญเงินประเภทนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและประเทศ

22. تقوى - ตักวา คือ ความยำเกรง หรือความเกรงกลัวต่อพระผู้เป็นเจ้า ตักวาเป็นคุณธรรมประการหนึ่งของผู้นับถือศาสนาอิสลาม

23. توبة - เตาบะฮฺ คือ การสำนึกผิดการกลับเนื้อกลับตัว และขอลุแก่โทษต่อพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้ผู้สำนึกผิดจะต้องไม่หวนกลับไปทำผิดอีก

24. توراة - เตารอต คือคัมภีร์ที่พระเจ้าประทานให้แก่ท่านนบีมูซาหรือโมเสส ปัจจุบันได้แก่หนังสือ 5 เล่มแรกของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลแต่มุสลิมเชื่อว่าเตารอตถูกเปลี่ยนแปลงไปจนหมดสิ้นโดยฝีมือของนักปราชญ์ยิวในสมัยโบราณ หนังสือ 5 เล่ม ดังกล่าวจึงไม่ใช่เตารอตของพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง

25. نبي - นบี คือบุคคลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้นเป็น“ศาสนทูต”ของพระองค์เพื่อปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์หรือเผยแผ่ในหมู่ผู้คนจำนวนน้อย อัล-กุรอานบอกว่าพระเจ้าส่งศาสนทูตมายังทุกประชาชาติ

26. نفس - นัฟสฺ คือ มีผู้ให้ความหมายหลายอย่างเช่น อินทรีย์ ชีวิต ดวงจิต ราคะและเนื้อหนังมังสา นัฟสฺ (หรือทั่วไปเรียกกันว่านัฟซู) มีปรากฏในอัล-กุรอานและหะดีษมากมาย

27. نكاح - นิกาฮฺ คือ พิธีแต่งงานตามศาสนาอิสลาม (ดูรายละเอียดในหนังสือ)

28. آخرة - อาคิเราะฮฺ คือ ปรโลก หรือโลกแห่งการสอบสวน และการตอบแทนความดีความชั่วของมนุษย์ คือมุสลิมเชื่อว่าเมื่อมนุษย์ตายไปแล้วจะฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันแห่งการพิพากษา การฟื้นคืนชีพนี้เป็นไปโดยอำนาจของพระเจ้าไม่ใช่การเวียนว่ายตายเกิด ปรโลกจะมาถึงเมื่อไรไม่มีใครทราบนอกจากพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

29. فقه - ฟิกฮฺ คือ หรือเรียกว่า “ฟิกเกาะฮฺ” หมายถืองเนื้อหาวิชา หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาศนศาสตร์ของมุสลิมเนื้อหาวิชานี้ส่วนใหญ่พูดถึงกฎหมาย หรือระเยียบกฎเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติทั่วๆ ไป ของปัจเจกบุคคลและสังคม

30. ملائكة - มลาอิกะฮฺ คือสิ่งถูกสร้างประเภทหนึ่งที่บังเกิดขึ้นจากรัศมีมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าอย่างเคร่งครัด มลาอิกะฮฺปราศจากความรู้สึกนึกคิดฝ่ายเนื้อหนัง ปราศจากความโลภโกรธและหลง มลาอิกะฮฺไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้ามลาอิกะฮฺถูกสร้างขึ้นมาในรูปลักษณ์ต่างๆ กัน และมีอำนาจแตกต่างกัน เช่นญิบรีล (ฝรั่ง เรียกว่า เกเบรียล) ทำหน้าที่นำโองการของพระเจ้ามายังศาสนทูตของพระองค์

31. مهر - มะฮัรฺ คือ ของหมั้น ของขวัญ หรือสินสอดที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเนื่องเพราะการแต่งงาน มะหัรจะเป็นอะไรและจำนวนเท่าไรขึ้นอยู่กับการตกลงของทั้งสองฝ่าย (ดูรายละเอียดในหนังสือ)

32. مسجد - มัสญิด คือสถานที่ที่มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน เช่นการละหมาด ตามตัวอักษรแปลว่าสถานที่ก้มกราบต่อพระเจ้า ในอิสลามมัสยิดมิใช่ที่สวดมนต์ดั่งที่คนในศาสนาอื่นเข้าใจ มัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชนมุสลิมเป็นสถานที่ประชุเพื่อกิจกรรมทางศาสนา การศึกษา และสังคม มัสยิดในอิสลามจึงเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาทุกรูปแบบ

33. مجاهد - มุญาฮิด คือนักรบหรือผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า มุญาฮิดเป็นเอกพจน์ พหูพจน์ คือ “มุญาฮิดีน” เช่นมุญาฮิดีนในอัฟกานิสถานที่ต่อสู่กับรัฐบาลหุ่นกาบูลเพื่อปลดปล่อยแผ่นดินของจนเองให้พ้นจากแอกของคอมมิวนิสต์ที่ปฏิเสธพระเจ้า

34. مسلم - มุสลิม คือ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ตามรากศัพท์หมายถึงผู้ที่ยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระเจ้าโดยสิ้นเชิง

35. مؤذن - มุอัซฺซิน คือผู้ที่ทำหน้าที่เชิญชวนศรัทธาชนให้มาละหมาดที่มัสยิดเมื่อถึงกำหนดเวลา (อะซฺาน) เพราะฉะนั้นมุอัซซินแปลง่ายๆ ว่า “ผู้ทำหน้าที่อะซาน”ในมัสยิดเล็ก ๆจะไม่มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเฉพาะปกติผู้นำ (อิมาม) จะปฏิบัติหน้าที่นี้ตามมัสยิดขนาดใหญ่ในบ้านเรามีการแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาทำหน้าที่นี้แต่เรามักจะเรียกเพี้ยนว่า “บิหลั่น” ซึ่งหมายถึงท่านบิลาลสาวกคนหนึ่งของท่านศาสนทูตเป็นคนผิวดำ และเป็นมุอัซซินคนแรกในประวัติศาสตร์อิสลาม

36. مؤمن - มุอฺมิน คือ ผู้ศรัทธาผู้ยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้าตลอดจนเชื่อมั่นในพระบัญญัติและคำสั่งทั้งปวงของพระองค์ ผู้ศรัทธาจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้าโดยเคร่งครัดนั่นคือ ศรัทธาแล้วจะแสดงออกในทางปฏิบัติด้วยจึงจะนับว่าเป็นมุอฺมินที่แท้จริง

37. مهاجرين - มุฮาญิรีน คือ ผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัยตามประวัติศาสตร์อิสลาม ท่านศาสนทูตสั่งให้มุสลิมจากเมืองมักะฮฺอพยพไปยังเมืองยัธริบ (ต่อมาเรียกว่ามะดีนะฮฺ) คนกลุ่มนี้ในประวัติศาสตร์เรียกว่า“ชาวมุฮาญิรีน”ตามหลักการอิสลามมุสลิมมีหน้าที่ต้องให้ความสงเคราะห์ผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัยตามสมควร

38. محمد - มุหัมมัด คือนามของท่านศาสนทูตคนสุดท้ายของพระเจ้า ท่านได้ชื่อว่าเป็น “คอติมุนนะบียีน” (ดู อัล-กุรอาน บทที่ 33 โองการที่ 40) ซึ่งหมายถึงตราประทับแห่งศสนทูตทั้งหลาย ท่านเป็นทั้งศาสนทูตของพระเจ้า และยังเป็นผู้นำ (ทางด้านจิตวิญญาณ) ของมุสลิมทั้งหลายการกระทำของท่านและโอวาทของท่านเป็นแบบอย่างที่มุสลิมเจริญรอยตาม

39. موسى - มูซา คือ ศาสนทูตท่านหนึ่งในอิสลามฝรั่งเรียกว่า “โมเสส”ท่านถูกส่งมาเป็นผู้นำชาวอิสราเอลออกจากการเป็นทาสของอียิปต์ในสมัยโบราณ

40. رمضان - รอมฎอน อ่านว่า เราะ-มะ-ดอน หมายถึงเดือนที่ 9 ตามปฏิทินอิสลามซึ่งถือว่าเป็นเดือนอันประเสริฐเพราะพระเจ้าทรงบัญญัติให้มุสลิมทุกคนถือศีลอดในช่วงเวลากลางวัน ของเดิมนี้ตามรากศัพท์ รอมฎอนมาจากคำว่ารอมดฺ ซึ่งแปลว่า “ลุกไหม้”เพราะฉะนั้นเดือนนี้จึงเป็นเดือนแห่งความร้อนแรงและเป็นเดือนที่มุสลิมจะเผาไหม้ความผิดต่างๆ ให้หมดไปด้วยการถือสีลอด

41. رسول - รสูล คือบุคคลที่พระเจ้าเลือกสรรให้มาทำหน้าที่“สื่อ”โองการของพระองค์ให้แก่มนุษยชาติมักจะมีผู้แปลว่า รสูล คือ “ผู้สื่อ”หรือ “ศาสนฑูต”ตามปกติมักจะเรียกว่า รสูลุลลอฮฺ หรือ ศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์ ในอัล-กุรอานมีนามของรสูลบันทึกไว้จำนวน 25ท่าน เช่น มูฮัมมัด พระเยวู (อีซา) โมเสส (มูซา) สุลัยมาน (โซโลมอน) อับราฮัม (อิบรอฮีม) เป็นต้น

42. صلاة - เศาะลาฮฺ คือ ละหมาด เป็นการเคารพภักดีต่อพระเจ้าอย่างหนึ่งถือเป็นหน้าที่ที่มุสลิมทุกคนจะต้องทำวันหนึ่งมีกำหนด 5 เวลาละหมาดเป็นเสมือนการเข้าเฝ้าพระเจ้าละหมาดจะช่วยยับยั้งความชั่ว ถ้าบุคคลปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอมีสมาธินอบน้อมต่อพระเจ้าอย่างแท้จริง ที่จริงละหมาดคือวิธีการขัดเกลาและฝึกฝนจิตใจรูปแบบหนึ่งละหมาดไม่ใช่การสวดมนต์ดังที่ศาสนิกอื่นเข้าใจ

43. صلى الله عليه وسلم – คือ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม แปลว่าขอความโปรดปรานของอัลลอฮ์ และสันติสุขจงมีแด่ท่าน (ศาสนทูตมุฮัมมัด ) เป็นพรภาวนาที่มุสลิมกล่าวต่อท้ายเมื่อกล่าวถึงนามของศาสนทูตมุฮัมมัด

44. صيام – ศิยาม คือ การแสดงความเคารพต่อพระเจ้าในรูปแบบหนึ่งซึ่งอิสลามบังคับให้เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ภาษาอาหรับเรียกว่า “เศามฺ”คือการอดอาหารเครื่องดื่มการประพฤติที่ไม่ดีไม่งาม การพูดในทางเสียหาย ตลอดจนการ่วมประเวณีและสิ่งไร้สาระทั้งปวงมีกำหนดตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก ศีลอดที่บังคับให้ปฏิบัติปีหนึ่งมีกำหนดหนึ่งเดือน คือในเดือนรอมฎอน ศีลอดจะช่วยสอนให้บุคคลรู้จักความหิวโหยและรู้จักความอดทนความข่มใจที่จะไม่กระทำผิดบาป

45. سبحانه وتعالى - สุบหานะฮู วะตะอาลา คือ ความบริสุทธิ์ และความสูงสุดยิ่งแด่พระองค์ เป็นสร้อยสรรเสริญที่มุสลิมกล่าวหลังจากเอ่ยพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อเป็นการเตือนตัวเองมิให้เผลอทำการ“ชิรกฺ”หรือตั้งภาคีแก่พระองค์

46. سبحان الله - สุบหานัลลอฮฺ คือ คำสรรเสริญพระเจ้า แปลว่าความบริสุทธิ์มีแก่พระองค์อัลลอฮ์

47. صدقة - เศาะดะเกาะฮฺ คือ มาจากรากศัพท์ว่า “ศอดกฺ”แปลว่า สัตย์จริง หรือชอบธรรมในทางศาสนา หมายถึง การทำทานการบริจากที่ให้บุคคลทำด้วยความสมัครใจ

48. صحابة - เศาะหาบะฮฺ คือ สหายหรือสาวกของท่านนบีมุฮัมมัด นักปราชญ์มุสลิมอธิบายว่าบุคคลเหล่านี้ได้แก่ ผู้ที่เข้ารับอิสลามเคยเห็นท่านศาสนทูตและเคยติดตามท่านแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตามมีผู้บันทึกว่าขณะที่ท่านศาสนทูตเสียชีวิตมีเศาะหาบะฮฺทั้งสิ้น 144,000 ท่าน จำนวนนี้รวมทั้งบุคคลที่เคยเป็นผู้ติดตามท่านและบุคคลที่เคยเห็นท่านจริง ๆ

49. سنة - สุนนะฮฺ ตามรากศัพท์แปลว่า วิถีทางครรลอง หรือวิถีชีวิตในทางศาสนาแล้วหมายถึงแบบอย่างพฤติกรรมของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ซึ่งมุสสลิมถือว่ามีความสำคัญรองลงมาจากอัล-กุรอานเป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิต (ตามคำภีรอัล-กุรอาน) ในภาคปฏิบัติที่มุสลิมพยายามเจริญรอยตามสุนนะฮฺของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ประกอบด้วยโอวาท และการกระทำของท่านตลอดจนสิ่งที่เหล่าสาวกของท่านพูดหรือกระทำแล้วท่านให้การยอมรับ

50. حديث - หะดีษ คือ คำพูดหรือโอวาทของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด เหล่าสาวกของท่านที่ได้ยิน หรือได้ประสบก็จะถ่ายทอดกันต่อๆ ไปจากคนหนึ่งเล่าต่อไปยังอีกคนหนึ่งจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งเป็นสายรายงานที่สืบเนื่องไปจนกระทั่งมีนักปราชญ์ทางศาสนาทำการบันทึกรวบรวมและกลั่นกรองเอาแต่หะดีษที่ถูกต้องมาใช้เป็นบรรทัดฐานในทางกฎหมาย เช่น การบันทึกของอิมามบุคอรีย์ อิมามมุสลิม หรืออิมามอะหมัดเป็นต้น

51. حجاب - หิญาบ คือ ตามรากศัพท์ แปลว่า ผ้าม่านในทางศาสนาหมายถึงระบบการแบ่งแยกชาย และหญิงออกจากกัน หิญาบเป็นสถาบันทางสังคมอย่างหนึ่งในอิสลามหิญาบยังหมายถึงเสื้อคลุมสำหรับสตรีสวมใส่เมื่อออกจากบ้าน (ดูรายละเอียดในหนังสือ บทที่ 2)

52 حياء - หะยาอ์ คือ ความละอาย เป็นมโนธรรมประการหนึ่งในอิสลามเป็นแนวความคิดเรื่องความละอาย การถ่อมตัว ความสงบเสงี่ยม และการรักนวลสงวนตัว

53. حرام - หะรอม คือ ตามตัวอักษร แปลว่าห้ามหรือไม่อนุมัตินั่นก็คือเป็นที่ต้องห้ามหรือผิดหลักกฎหมายในศาสนาอิสลาม เช่น การดื่มสุราเป็นหะรอม การผิดประเวณีเป็นหะรอม เป็นต้น

54. حلال - หะลาล คือ ตามตัวอักษร แปลว่าสิ่งที่หลวมหรือหลุดลุ่ยนั่นก็คือเป็นที่อนุมัติหรือถูกต้องชอบธรรมตามหลักกฎหมายในศาสนาอิสลาม หะลาลเป็นสิ่งตรงข้ามกับหะรอม

55. أمانة - อะมานะฮฺ คือ ตามตัวอักษรแปลว่า ของฝาก หมายถึงภาระที่ได้รับมอบหมาย หรือหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องรักษาไว้โดยเคร่งครัดมุสลิมมีอะมานะฮฺทั้งต่อมนุษย์และพระเจ้า

56. أمير - อะมีรฺ คือตำแห่งประมุขหรือผู้นำที่มีอำนาจ เช่น ผู้ปกครอง ผู้บังคับบัญชา อะมีรฺรวมความถึงเจ้าพนักงานในระดับสูงของรัฐมุสลิมด้วย

57. أنصار - อันศอรฺ คือ ผู้ช่วยเหลือตามประวัติศาสตร์อิสลามชาวเมืองยัธริบ (มะดีนะฮฺ) เมื่อเข้ารับอิสลามแล้วจึงเรียกว่าเป็น “ชาวอันศอร.”ซึ่งหมายถึงการที่คนกลุ่มนี้ให้ความช่วยเหลือและสสงเคราะห์มุสลิมที่อพยพมาจากเมืองมะกกะฮฺ (มุฮาญิรีน)

58. القرآن - อัล-กุรฺอาน คือ คำภีร์อันสูงสุดของมุสลิม มุสลิมถือว่าอัลกุรอานเป็นธรรมนูญแห่งการดำเนินชีวิต เป็นพระดำรัสของพระเจ้าที่ประทานมายังท่านศาสนทูตมุฮัมมัด เพื่อเป็นทางนำแก่มนุษยชาติปัจจุบันอัล-กุรอานยังคงเดิมไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแม้เวลาจะผ่านมา 1,400 กว่าปีแล้วก็ตามมุสลิมอ่านอัล-กุรอานเพื่อดูว่าพระเจ้าสั่งให้เขาทำอะไรบ้าง อัล-กุรอานคือน้ำพุแห่งชีวิตเป็นยารักษาโรค (ในจิตใจ) และเป็นทางออกของปัญหาต่าง ๆ

59. الله - อัลลอฮฺ คือพระนามของพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาลหรือ “พระเจ้า”ในภาษาอาหรับพระองค์เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งปวงเนื่องด้วยมนุษย์ถูกสร้างโดยอำนาจของพระองค์มนุษย์จึงมีความผูกพันกับการแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ ตลอดจนดำเนินชีวิตอยู่บนแนวทางที่พระองค์ทรงรับรอง(อิสลาม) ทั้งนี้เพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์

60. الله أكبر - อัลลอฮุอักบัร คือ คำสดุดีพระผู้เป็นเจ้ามีความหมายว่า อัลลอฮฺ พระผู้ทรงเกรียงไกร

61. الحمدلله - อัลหัมดุลลิลาฮฺ คือ คำสรรเสริญขอบคุณพระเจ้าแปลว่าบรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ

62. آخرة - อาคิเราะฮฺ คือ วันสุดท้าย วันแห่งการพินาศแตกสลายของสิ่งต่างในวันนั้นพระเจ้าจะทำลายทุกสรรพสิ่ง สิ่งมีชีวิตที่เป็นอยู่จะตายไป อาคิเราะฮฺมักจะมีผู้แปลว่าปรโลก

63. آدم - อาดัม คือนามของมนุษย์คนแรกในอิสลาม อาดัมเป็นศาสนทูตท่านแรกของพระเจ้าด้วยเช่นเดียวกัน แต่อิสลามไม่ได้เชื่อว่ามนุษย์มีบาปติดตัวมาเพราะการที่มนุษย์คนแรกไปหลงรับประทานผลไม้ต้องห้าม (ฝรั่งบอกว่าเป็นลูกแอปเปิ้ล) อาดัมเมื่อสำนึกผิดก็ได้รับการอภัยโทษจากพระเจ้า

64. آمين - อามีน คือคำลงท้ายในบทขอพรที่มุสลิมวิงวอนขอต่อพระเจ้า อามีนแปลว่าขอพระองค์ทรงโปรดเทอญ

65. آية - อายะฮฺ ตามตัวอักษรแล้วแปลว่าสัญญาณ คำนี้ถูกนำมาใช้กับวรรคตอนในซูเราะฮฺ (บท) ของอัล-กุรอาน ซึ่งมักจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “โองการ”เช่น ถ้าเขี่ยนว่า 2:10 ให้หมายถึงบทที่ 2 โองการที่ 10 มีผู้ประมาณว่า อัล-กุรอานมีอยู่ทั้งหมด 6,200 อายะฮฺด้วยกัน

66. عبادة - อิบาดะฮฺ มาจากรากศัพท์ว่า “อับดุน” (บ่าวทาส) หมายถึงการยอมทำตามเพื่อความพึงพอใจของผู้เป็นนายมีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่า “การแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า” อิบาดะฮฺในทางศาสนามีความหมายกว้างขวางมาก สรุปได้ว่าการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้พระเจ้าโปรดปรานและอยู่ในครรลองของพระองค์ จัดได้ว่าเป็นอิบาดะฮฺทั้งสิ้น เช่น การละหมาด การบริจาคช่วยเหลือ การต่อสู้ของนักรบชาวอัฟกานิสถาน การสอนหลักธรรมแก่ผู้อื่น สรุปได้ว่าอิบาดะฮฺมีทั้งที่เป็นรูปแบบและไม่เป็นรูปแบบแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องทำความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง

67. إمام - อิมาม ได้แก่ผู้นำหรือแบบอย่าง ตัวอย่างสำหรับการปฏิบัติตามอิมาม ณ ที่นี้มิได้หมายถึงอิมามนำละหมาดรวมอย่างเดียว แต่หมายถึงผู้นำของชุมชนมุสลิมเป็นศูนย์รวมทางจิตใจเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้คอยชี้แนะ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถแก้ไขปัญหาและเรื่องราวต่างๆ ให้กับสมาชิกในชุมชน

68. عدة - อิดดะฮฺ มาจากรากศัพท์ว่า “อัล-อะดาด”ซึ่งหมายถึง จำนวนในทางกฎหมายได้แก่ ช่วงแห่งการรอคอยของผู้หญิงเพื่อประวิงการแต่งงานใหม่หรือเพื่อเกื้อหนุนการปรองดอง อิดดะฮฺของหญิงม่ายเพราะสามีเสียชีวิตมีกำหนด 4 เดือน 10 วัน อิดดะฮของหญิงมีครรภ์กำหนดจนกระทั่งเธอคลอดบุตรออกมา อิดดะฮฺของสตรีที่ยังมีระดูมีกำหนด 3 เดือน และสตรีที่พ้นวัยการมีระดูกำหนด 3 เดือนเช่นกัน

69.إن شاء الله - อินชาอัลลอฮฺ คือคำพูดที่มุสลิมแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในพระเจ้า และมอบความไว้วางใจต่อพระองค์โดยถือว่า “หากพระองค์ทรงประสงค์” แล้วสิ่งที่หวังไว้คงจะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

70. إسلام - อิสลาม คือสันติ หรือการยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระเจ้าโดยสิ้นเชิงอิสลาม คือนามของระบอบการดำเนินชีวิตแบบหนึ่งที่พระเจ้าทรงรับรองในอิสลามมีมากกว่าศาสนาธรรมดาๆ อิสลามเข้าไปเกี่ยวข้องกับชีวิตในทุกแง่มุม อาทิ การเมือง สังคม เศรษฐกิจการศึกษา และวัฒนธรรม

71. إيمان - อีมาน คือ ความเชื่อ ความศรัทธา อย่างไรก็ตามในอิสลามความศรัทธาจะต้องควบคู่กับการปฏิบัติ ยิ่งปฏิบัติคุณความดีมากขึ้นศรัทธาก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น

72. أمة - อุมมะฮฺ คือประชาชาติของพี่น้องมุสลิมที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน เรียกกันหลายอย่าง เช่น อุมมะฮฺอิสลาม อุมมะฮฺมุสลิม เป็นต้น คำนี้ปรากฏในอัล-กุรอาน ประมาณ 40 ครั้งด้วยกัน

73. علماء - อุละมาอ์ มาจากคำว่า “อาลิม” ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทรงไว้ซึ่งความรู้ผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ อาลิมเป็นรูปเอกพจน์ อุละมาอ์ เป็นพหูพจน์

74. عورة - เอาเราะฮฺ คือร่างกายบางส่วนที่ศาสนากำหนดให้ปกปิดเช่น ชายเอาเราะฮฺอยู่ตั้งแต่สะดือจนถึงหัวเข่า สำหรับหญิงตลอดร่างกายยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือเท่านั้น

75. هجرة - ฮ.ศ. ย่อมาจากคำว่า “ฮิจเราะฮฺศักราช”คำว่า ฮิจเราะฮฺ แปลว่า การอพยพหรือการลี้ภัย มุสลิมเริ่มนับศักราชในปีที่ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด อพยพจากเมืองมักกะฮฺไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ปัจจุบันตรงกับ ฮ.ศ.1429

76. حج - หัจญ์ คือ การเดินทางไปเยี่ยมเยือนบัยตุลลอฮฺ (วิหารของอัลลอฮ์ ) เป็นการชุมนุมสันนิบาตสำหรับประชาติมุสลิม ณ มักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบียเป็นหลักปฏิบัติประการหนึ่งที่บังคับแก่ผู้ที่มีความสามารถส่วนมากมักจะมีผู้แปลว่าการแสวงบุญ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น