ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

ตอบโจทย์ ::ทำไมต้องเรียนภาษาอาหรับ ?

ccpn

1. ภาษาแห่งคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งมีความสำคัญเป็นจำเป็น (วาญิบ[1]) ต่อชาวมุสลิมทั้งหมดไม่ว่าภาษาเดิมขอพวกเขาจะเป็นภาษาใด เพราะพระผู้เป็นเจ้าได้ส่ง สาส์นของพระองค์ต่อศาสนทูตมุฮัมมัด ศ็อลฯ ซึ่งเป็นชาวอาหรับ ดังนั้นภาษาอาหรับจึงเป็นภาษาที่วิวรณ์ลงมาสำหรับชาวมุสลิมทั้งมวล
2. ภาษาแห่งพระวจนะแห่งศาสดา (อัลหะดีษ)[2]
3. ภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ
4. ภาษาอาหรับ เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอสมควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง
5. คำในภาษาอาหรับได้เข้าไปอยู่ในภาษาอื่น ๆ เป็นจำนวนมากโดยผ่านศาสนาอิสลาม อันเป็นผลมาจากการพานิชย์และปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง นอกจากนั้นแล้วภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเผยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรีย
6. ภาษาอาหรับเป็นภาษาในตระกูลภาษาเซเมติก (Semitic) หรือแอฟโรเอเซียติก(Afroasiatic) เป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดภาษาหนึ่งของโลก คือ ประมาณกว่า 206 ล้านคน
7. พบหลักฐานว่าภาษาอาหรับถูกจารึกเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.328
8. อักขระของภาษาอาหรับนั้นเป็นพื้นฐานของภาษาเปอร์เชี่ยน ปัชห์ตู (Pastu),เปอร์เซียหรือฟัรซี (อีหร่าน), พาสโต้: Pashto (อัฟกานิสถาน,อีหร่าน,อินเดีย),อุรดู:Urdu (อินเดียและปากีสถาน), ตุรกี : Turkishและอักขระในภาษาอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
9. ตัวอักษรภาษาอาหรับเขียนในรูปแบบติดต่อกัน เริ่มต้นเขียนอ่านจากด้านขวามือ ซึ่งเป็นรูปแบบของอักษรนาบาเตียน
10. ภาษาอาหรับมีทั้งภาษาที่ใช้ในการพูดและการเขียน ภาษาเขียน เป็นภาษาที่ใช้ในศาสนาและในวรรณกรรมสมัยใหม่
11. ภาษาอาหรับถูกใช้สำหรับการเรียนรู้วัฒนธรรมและความเจริญทางอารยธรรมในยุคกลางแห่งอาณาจักรอิสลาม ระหว่างศตวรรษที่ 9-12 ตำราแพทย์ประวัติศาสตร์ ศาสนศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ผลิตขึ้นโดยใช้ภาษาอาหรับมากกว่าภาษาอื่นภาษาของชาติตะวันตกหลายภาษาได้ขอยืมคำในภาษาอาหรับไปใช้ ดังเช่นคำว่า magazine, cotton, arsenal ในภาษาอังกฤษ นอกจากนี้อักษรอาหรับยังถูกใช้ทั่วโลกเป็นที่สองรองจากภาษาละติน
12. เป็นภาษา 1 ใน 6 ของภาษาที่ใช้สื่อสารราชการในองค์การสหประชาชาติ (UN : United Nations)[3]
13. เป็นภาษาแห่งสันนิบาตอาหรับ[4](The League of Arab States) หรือ Arab League)ซึ่งประกอบด้วย 22 ประเทศ
14. ภาษาอาหรับติดอันดับ 4 ของภาษาที่ผู้คนส่วนใหญ่พูดกันมากที่สุดภาษาหนึ่ง
ด้วยจำนวนผู้พูด 221 ล้านคน ประกอบด้วย 57 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
15. ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ใช้ในการสวดมนต์ของมุสลิมจำนวน 1.2 ล้านคนทั่วโลกซึ่งรวมไปถึงมุสลิมในอเมริกาจำนวน 6 ล้านคนด้วย
16. ภาษาอาหรับยังเป็นภาษาที่ชาวคริสต์ในแอฟริกา รวมไปถึงในตะวันออกกลางจำนวน 30 ล้านกว่าคน ใช้ในการสวดมนต์ต่อพระเจ้า
17. ภาษาอาหรับถือว่าเป็นภาษาแม่ของชาวอาหรับจำนวน 3 ล้านคนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมในสหรัฐฯ
18. ภาษาอาหรับเป็นภาษาพูดที่เติบโตมากที่สุดในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา
19. สมาคมการสำรวจภาษาสมัยใหม่ แสดงให้เห็นว่าจำนวนนักศึกษาที่เรียนภาษาอาหรับที่ U.S. colleges เพิ่มขึ้น 92.3% เป็น 10,584 คน ระหว่าง ปี ค.ศ 1998 และ 2002 จากจำนวนมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีของการเรียนการสอนภาษาอาหรับเพิ่มขึ้น 48% เป็น 233 แห่ง
20. คาดว่าในปี 2050 จำนวนผู้พูดภาษาอาหรับจะมีอัตราที่สูงขึ้น จนอาจจะมีผู้พูดมากกว่าภาษาอังกฤษโดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยของประชากรทั่วโลก
21. การสำรวจของสมาคมภาษาทันสมัยแสดงจำนวนของนักเรียนกำลังเรียนภาษาอาหรับที่วิทยาลัยในอเมริกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
22. ภาษาอาหรับถือว่าเป็นภาษาวรรณกรรมที่มีลักษณะโดดเด่นในเรื่องเนื้อหาทางวาทะศาสตร์ที่เปิดกว้างทั้งทางโลกและทางธรรม วรรณกรรมอันเลื่องชื่อที่สุด คือ วรรณกรรมอมตะเรื่องพันหนึ่งทิวาราตรี (The Thousand and One Nights)ซึ่งถูกแปลออกมาหลายภาษาทั่วโลก เช่น (อาหรับ: كتاب ألف ليلة وليلة, เปอร์เซีย: هزار و یک شب, ตุรกี: Bin BirGeceMasalları, อูรดู: HazarAurEikRateinWahliKitab, ฮีบรู: אלף לילה ולילה,
23. คำภาษาอาหรับได้สร้างคำสู่หลายๆภาษาในยุโรปเพียงอย่างเดียวมากกว่า 4,000 คำ ซึ่งส่วนใหญ่ปรากฎอยู่ในภาษาสเปน โดยเฉพาะคำนาม ซึ่งยืมมาจากภาษาอาหรับ[5]
24. ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่(الفصحى: fus-Ha Modern Standard
Arabic) ได้มาจากภาษาอาหรับสมัยก่อนและได้มีการพัฒนาในปลายทศวรรษที่ 19- ต้นต้นทศวรรษที่ 20
25. ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่มีความสมบูรณ์ในตัวถึงแม้ว่าต้องประสบกับอิทธิพลของภาษาต่างประเทศอย่างมากก็ยังคงไว้ซึ่งลักษณ์ของภาษาเอาไว้
26. ภาษาอาหรับมีการปรับปรุงและเพิ่มคำศัพท์ใหม่ๆโดยบัณฑิตยสถานเพื่อสอดรับกับโลกสมัยใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมืองการปกครองสมัยใหม่และเท่าทันต่อโลกแห่งเทคโนโลยีอีกด้วย.

Colloquial Arabic
“is the mother tongue of the Arab & remains throughout his life the primary medium of interpersonal relationships.”
“ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาแม่ของชาวอาหรับทั้งมวลและยังคงดำรงอยู่กับพวกเขาอยู่ และที่สำคัญไปกว่านั้นภาษาอาหรับยังเป็นตัวกลางของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอีกด้วยด้วย” -ผู้แปล  (Mary Catherine Bateson, Arabic Language Handbook 2003) 
-------------------------------
บรรณานุกรม
กองตะวันออกกลาง. 2554. สันนิบาตอาหรับ(ออนไลน์). สืบค้นจาก:
         http://sameaf.mfa.go.th/th/organization/detail.php?ID=199. [30 พฤษภาคม2555].
มะหฺยุดดีน หะยียะหยา. 2554. อิสลามในสเปน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอิสลามศึกษา
        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
มูหัมมัดมันซูรหมัดเร๊าะ. อิทธิพลของวัฒนธรรมอาหรับต่อสังคมมลายูในจังหวัดปัตตานี.
        วิทยานิพนธ์อิสลามศึกษามหาบัณฑิมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
        วิทยาเขตปัตตานี, หน้า 174-178.
อาลี เสือสมิง. 2554. ประวัติศาสตร์ อัล–อันดาลุส. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม. กรุงเทพฯ.
อัลเบิร์ตฮูรานี. 2550. ประวัติศาสตร์ของชนชาติอาหรับ A History of the Arab Peoples.กรุงเทพฯ :        
       โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัสสมิง กาเส็ง. คำยืมภาษาอาหรับในภาษามลายูถิ่นปัตตานี. วิทยานิพนธ์อักษร
       ศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ethnologue.ม.ป.ป. ภาษาแรกที่ผู้คนใช้พูด(ออนไลน์). สืบค้นจาก:
       http://www.ethnologue.com/ethno_docs/distribution.asp?by=size. [29
       พฤษภาคม2555].
wikipedia. ม.ป.ป. สหประชาชาติ(ออนไลน์). สืบค้นจาก:
       http://th.wikipedia.org/wiki/ สหประชาชาติ.[29 พฤษภาคม2555].
สำนักข่าวมุสลิม. 2553. ความสุดยอดของภาษาอาหรับ (ออนไลน์). สืบค้นจาก:
       http://www.thaimuslim.com/view.php?c=3&id=7681 . [5 มิถุนายน 2555].









[1]จำเป็นที่อิสลามิกชนต้องอ่านภาษาอาหรับได้ เพราะมันเป็นภาษาแห่งคัมภีร์อัลกุรอาน
[2]หะดีษ คือ คำพูด การกระทำ การยอมรับ และคุณลักษณะ ตลอดจนชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัสลัม) อิบนุหะญัรอัล-อัสเกาะลานีย์ให้นิยามของหะดีษว่า “ทุกๆสิ่งที่พาดพิงถึงท่านนบี(ศ็อลฯ)”
[3]สหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ (ตัวย่อ: UNO) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดร่วมมือกันของกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก *ภาษาทางการที่ใช้มีอยู่ 6 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษาจีน และภาษาอาหรับ
[4]สันนิบาตอาหรับ (The League of Arab States) หรือ Arab League เป็นองค์กรภูมิภาคของประเทศอาหรับ จัดตั้งบนพื้นฐานทางชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ (Arab Based) ก่อตั้งเมื่อ 22 มีนาคม 1945
[5]แนะนำอ่านเพิ่มเติมในหนังสือ “อิสลามในสเปน” ฉบับภาษาไทย แปลโดย รศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต

อิบนู อะหมัด
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ:
อิบนู อะหมัด นักศึกษาเอกภาษาอาหรับ รหัส 52
นักเขียนคอลัมทั่วไปบนเว็บบล็อกเอกภาษาอาหรับ ม.อ. ปัตตานี
"เป้าหมายสูงสุดในการเรียนภาษาอาหรับ คือการเผยแพร่สิ่งที่ร่ำเรียนมา"
ติดตามนักเขียน FB @ Emronarab

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น