1. ความหมายด้านภาษา
อีด เป็นภาษาอาหรับที่ผันมาจากกริยาของ عَادَ – يَعُوْدُ – عَوْدٌ แปลว่า เวียนมา วกกลับ หวนมาบรรจบ ครบรอบ
อัล-อัซฮะรีย์ กล่าวว่า “อีดในทัศนะของคนอาหรับจะหมายถึง เทศกาลความรื่นเริงหรือความโศกเศร้าที่หวนกลับมาบรรจบหรือครบรอบอีกครั้งหนึ่ง”
อิบนุล-อะเราะบีย์ กล่าวว่า “เหตุที่ถูกเรียกว่า “อีด” เพราะมันจะเวียนกลับมาพร้อมกับนำความรื่นเริงครั้งใหม่(มาสู่ชุมชน)” [1]
วันอีด จะถูกเรียกเนื่องในเทศกาลหรือโอกาสใดโอกาสหนึ่งที่หวนมาบรรจบเป็นประจำในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และในวันเดือนปีที่ชัดเจนจนเป็นธรรมเนียมที่รู้กัน ซึ่งอาจจะเป็นเทศกาลรายปีรายเดือน หรือรายสัปดาห์ โดยที่เทศกาลดังกล่าวจะหวนกลับมาพร้อมกับการต้อนรับของชุมชนด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกิจกรรมด้านพิธีกรรมศาสนา กิจกรรมสันทนาการ กิจกรรมประเพณีกิจกรรมการชุมนุมสังสรรค์ และกิจกรรมการละเล่นหรือความรื่นเริงต่างๆ
2. ความหมายด้านนิติศาสตร์อิสลาม
วันอีดในด้านนิติศาสตร์จะหมายถึงวันแห่งเทศกาลหรือโอกาสใดโอกาสหนึ่งที่หวนกลับมาบรรจบหรือครบรอบอีกครั้งอย่างเป็นเนืองนิตย์และเป็นปกติวิสัย ไม่ว่าจะเป็นการหวนกลับมาในรอบปี รอบสัปดาห์ หรือรอบเดือนก็ตาม[2] อาทิเช่น อีดิลฟิฏริ อีดิลอัฎฮา อีดุลมีลาด (วันเกิด) อีดเราะสุสสะนะฮฺ (วันขึ้นปีใหม่) และอีดเมาลิด เป็นต้น
ของขวัญวันอีด จะถูกเรียกว่า “อีดิยฺยะฮฺ” อิบนุ อาบิดีน กล่าวว่า "สาเหตุที่ถูกเรียกวันนี้ว่าวันอีด เพราะอัลลอฮฺทรงนำความเมตตาและความดีต่างๆ ของพระองค์กลับคืนสู่บ่าวของพระองค์อีกครั้ง อาทิเช่นอนุญาตให้ละจากการถือศีลอดหลังจากที่พระองค์ทรงห้าม(เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม) การแจกจ่ายซะกาตแก่คนจน การแจกจ่ายเนื้อสัตว์อุฎฺหิยะฮฺ(สัตว์กุรบาน) และอื่นๆ และเนื่องจากว่าโดยปกติแล้วในวันนี้จะมีแต่ความสุข สนุกสนาน รื่นเริง กระฉับกระเฉงและมีสีสันสวยงาม"
ประวัติวันอีดในอิสลาม
ตามธรรมเนียมของแต่ละประชาชาติมักจะยึดเอาวันต่างๆที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ หรือมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันนั้นมาตั้งเป็นวันอีด แต่วันอีดในอิสลามจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับวันอีดเหล่านั้น เพราะบัญญัติวันอีดในอิสลามจะมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับกิจกรรมศาสนา
ดังนั้นเราจึงพบว่าวันอีดิลฟิฏรฺจะมีความเกี่ยวพันกับการสิ้นสุดของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ส่วนอีดิลอัฎฮาจะมีความเกี่ยวพันกับเทศกาลหัจญ์และวันอะเราะฟะฮฺ
อะหฺมัด อับดุรเราะหฺมาน อัลบันนา กล่าวถึงเหตุผลของบัญยัติวันอีดทั้งสองว่า "เพราะวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา เป็นวันที่อีดที่อัลลอฮฺทรงบัญญัติและเลือกไว้สำหรับบ่าวของพระองค์ และเพราะวันอีดทั้งสองมีขั้นหลังจากการปฏิบัติหลักการอิสลามที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ การทำหัจญ์และการถือศีลอด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะอภัยโทษแก่บรรดาผู้ทำหัจญ์และผู้ถือศีลอด และจะทรงโปรยความเมตตาของพระองค์สู่บ่าวของพระองค์ทุกๆคนที่มีความจงรักภักดีต่อพระองค์"[4]
โดยวันอีดทั้งสองจะเริ่มด้วยพิธีกรรมการละหมาดสองร็อกอัตที่แตกต่างจากวิธีการละหมาดทั่วไปเล็กน้อย นั่นคือ
1. จัดให้มีการละหมาดอย่างพร้อมเพรียงกันที่ลานกว้างหรือสนาม(ไม่ใช่มัสญิด ยกเว้นในกรณีที่จำเป็น)
2. มีรูปแบบเพิ่มเติมเล็กน้อย นั่นคือ การกล่าวตักบีรฺก่อนอ่านอัล-ฟาติฮะฮฺ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของตักบีรฺ ซะวาอิด
3. มีการอ่านคุฏบะฮฺหลังละหมาด
การปฏิบัติในวันอีด
1. ห้ามถือศีลอดในวันอีด
อบู สะอี๊ด อัล-คุดรีย์ กล่าวว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้ถือศีลอดในวันอีดิลฟิฏรฺและวันนะหัรฺ(วันอีดิล-อัฎฮา)”[5]
2. กล่าวตักบีรฺ
ตักบีรฺเป็นคำกล่าวหลักของวันอีดทั้งสอง ดังนั้นจึงต้องกล่าวตักบีรฺให้มากๆ ในคืนวันอีดทั้งสอง ทั้งที่บ้าน ในมัสญิด และตามถนนหนทาง เพื่อเป็นการป่าวประกาศไปทั่วทุกซอกซอย ถึงชัยชนะและความต้อนรับการมาเยือนของวันอีด โดยเฉพาะในวันอีดิลฟิฏรฺ[6]
ความว่า “อัลลอฮฺคือผู้เป็นที่สุดแห่งความยิ่งใหญ่ และการสรรเสริญอย่างมากมายเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺทั้งเช้าและเย็น ไม่มีองค์อภิบาลใดๆ ที่ควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺ และเราจะไม่เคารพภักดีนอกจากพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ถึงแม้ว่าบรรดาผู้ปฏิเสธจะชิงชัง ไม่มีองค์อภิบาลใดๆ ที่ควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว พระองค์ทรงเป็นผู้ที่สัจในสัญญา และทรงช่วยเหลือบ่าวของพระองค์และทรงทำให้กลุ่มศัตรูพ่ายแพ้ด้วยพระองค์เพียงผู้เดียว ไม่มีองค์อภิบาลใดๆที่ควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺและอัลลอฮฺคือผู้ยิ่งใหญ่”
3. จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺและเชือดสัตว์กุรบาน
4. อาบน้ำชำระร่างกาย
5. พรมน้ำหอม
6. แต่งกายด้วยอาภรณ์ที่สวยงามและดูดีที่สุด
7. รับประทานอินทผลัมก่อนไปละหมาด (สำหรับอีดิลฟิตรี) เเต่อีดิลอัฎฮามื้อแรกให้ทานเนื้อกุรบาน
8. เดินทางสู่สนามละหมาด ส่งเสริมให้เดินทางสู่สนามละหมาดด้วยการเดินเท้า สำหรับผู้ที่มีบ้านอยู่ใกล้กับสนามละหมาดและสามารถเดินทางไปได้ แต่หากว่าบ้านอยู่ไกลหรือไม่สะดวกที่จะเดินเท้าก็ให้ขึ้นรถแทนซึ่งในขณะเดินทางส่งเสริมให้กล่าวตักบีรฺตลอดทางสู่สนามละหมาด
9. ละหมาดอีด
10. กล่าวอวยพรให้แก่กัน
ญุบัยรฺ อิบนุ นุฟัยรฺ กล่าวว่า “ทุกครั้งที่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม มาเจอกันในวันอีด พวกเขาจะกล่าวให้แก่กันว่า
12. จัดงานฉลองและการละเล่นวันอีด
[1] ลิซานุล อะร็อบ 9/491, ตาญุล อะรูส 8/438
[2] อิกติฎออฺ อัศ-ศิรอฏ อัล-มุสตะกีม 1/241, วารสารอัล-มะนารฺ (7/97) 19/12/1316 ฮ.ศ.
[3] อะหฺมัด 3/103, อบู ดาวูด (1124), อัน-นะสาอีย์ 3/277, อัล-หากิม 1/294, อัล-บะเฆาะวีย์
4/292
[4] อัล-ฟัตหุ อัรฺ-ร็อบบานีย์ 6/119
[5] อัล-บุคอรีย์ (1991), มุสลิม (827)
[6] อัล-มุฆนีย์ 3/278, อิรวาอุลเฆาะลีลฺ 3/122
[7] ฟัตหุลบารีย์ 2/517 อิบนุ หะญัรฺกล่าวว่า “เราได้รายงานในอัล-มุหามิลิยฺยาต ด้วยสายรายงานที่หะสัน”
2 ความคิดเห็น:
วันเกิดถือเป็นวันอีดมั้ยครับ (221)
วันสำคัญของชาวมุสลิม (วันอีด) ~ เอกภาษาอาหรับ ม.อ. ปัตตานี >>>>> Download Now
>>>>> Download Full
วันสำคัญของชาวมุสลิม (วันอีด) ~ เอกภาษาอาหรับ ม.อ. ปัตตานี >>>>> Download LINK
>>>>> Download Now
วันสำคัญของชาวมุสลิม (วันอีด) ~ เอกภาษาอาหรับ ม.อ. ปัตตานี >>>>> Download Full
>>>>> Download LINK
แสดงความคิดเห็น