ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

ที่มาของคำว่า "ปฏิวัติ" ในภาษาอาหรับ

ไม่เอา "รัฐประหาร"
หนูต่อต้านรัฐประหาร

ข่าวการปฏิวัติในอียิปต์ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่น่าจดจำสำหรับชาวอียิปต์และประชาชนทั่วโลก การก่อรัฐประหารรัฐบาลที่นำโดย ดร.มูฮัมหมัด มุรซีย์ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์อียิปต์  เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 จากการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านสื่อต่างๆ ได้มีการนำเสนอข่าว ซึ่งเรามักพบเจอกับคำศัพท์ในเนื้อข่าว หรือการพาดหัวข่าวภาษาอาหรับด้วยคำว่าอินกิลาบุน”  (اِنْقَلَبَ – يَنْقَلِبُ - اِنْقِلَابٌ)  วันนี้จึงอยากสืบสาวราวเรื่องของรากศัพท์คำนี้ถึงที่มาและความหมายให้ทุกคนได้รู้และเข้าใจกันครับ

คำว่า “กอละบา ยุกลิบู  ก็อบบุน”  (قلَبَ -  يُقْلِبُ – قَلْبٌ เป็นคำกริยาแท้  3 อักษรที่ต้องการกรรม (فعل الثلاثي)  ซึ่งมีความหมายว่า พลิก, พลิกกลับ, หมุนกลับ, พลิกคว่ำ, คน, กวน, กลับหน้าเป็นหลัง, เปลี่ยน, สะท้อน, พลิกแพลง, กลับเอาข้างในออกข้างนอก  โดยความหมายที่หลากหลายนี้มักใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน เช่น

- يقلب الفلاحُ الأرضَ للزراعةِ  เกษตรกรกำลังพลิกหน้าดินเพื่อการเพาะปลูก
- يقلب أبِي بين قناة الجزيرة و قناة بي بي سي   พ่อกำลังเปลี่ยนช่องไปมาระหว่างอัลญะซีเราะฮฺ และบีบีซี
- قَلَبَ عَلِيُّ صَفْحَةَ الكِتَابِ    อาลีได้พลิกหน้าหนังสือ    
            
ส่วนคำว่า  “อินกอละบา ยุนกอลิบุ อินกิลาบุน”   (اِنْقَلَبَ – يَنْقَلِبُ - اِنْقِلَابٌ)เป็นกริยาเพิ่มที่ไม่ต้องการกรรม (فعل الثلاثي المزيد)  จัดอยู่ในบท  اِنْفَعَلَ  โดยมีการเพิ่มอักษรเข้าไปในคำ อักษรด้วยกัน คือ  อะลิฟและนูน  กรณีนี้ถือว่าเป็นกฎทางนิรุกศาสตร์ภาษาอาหรับ หรือกฎการผันคำกริยา (ศอร็อฟ) ซึ่งผลจาการเพิ่มอักษรเข้าไปในคำเดิม ทำให้เกิดความหมายใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 

คำว่า  اِنْقَلَبَ – يَنْقَلِبُ - اِنْقِلَابٌ  จึงมีความหมายว่า  ถูกพลิกคว่ำ, ถูกเปลี่ยน, ถูกปฏิวัติหรือรัฐประหาร, ถูกพลิกกลับ,พลิกคว่ำ (รถ), กลับไปสู่สภาพเดิม, หันกลับไปทำอย่างเดิม, ถูกถอดถอน, ถูกบังคับ  ตัวอย่างประโยค  เช่น

- وَقَعَ انْقِلابُ السَّيَّارَةِ في مُنْعَطَفِ الطَّريقِ   รถยนต์เกิดการพลิกคว่ำบริเวณทางโค้ง
اِنْقَلَبَتِ السَّيَّارَةُ   รถยนต์ได้ (ถูกทำให้) พลิกคว่ำ  
- اِنْقَلَبَ ضَحِكُهُ حُزْناً  ความร่าเริงของเขาได้กลับกลายเป็นความเศร้า 
- فَشِلَ الانْقِلابُ العَسْكَرِيُّ   การปฏิวัติทางทหารได้เกิดความล้มเหลว
- إن الانقلاب العسكري الذي أطاح بالرئيس المصري المنتخب المعزول محمد مرسي يعد بمثابة ضربة قوية ضد الإخوان المسلمين في مصر والشرق الأوسط، ولكنها ضربة من شأنها تقوية الإسلاميين أكثر من أن تضعفهم.
การปฏิวัติทางทหารโดยการโค่นล้มมุฮัมหมัด มุรซีย์  ประธานาธิบดีอียิปต์ที่มาจากการเลือกตั้งเสมือนเป็นการโจมตีกลุ่มภารดรภาพในอียิปต์และในตะวันออกกลาง  แต่การกระทำดังกล่าวกลับทำให้ชาวมุสลิมจำนวนมากเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น.


อินกิลาบุน (إنقلاب) ในทางการเมืองหมายถึง การปฏิวัติหรือการก่อรัฐประหารโดยฝ่ายอำนาจทหาร ซึ่งนอกจากคำนี้แล้วเรามักคุ้นเคยกับคำว่า เซาเราะฮฺ” (ثورة) แต่คำนี้จะมีความหมายว่า  การปฏิวัติทางการเมืองโดยกลุ่มประชาชน  ซึ่งแตกต่างจากคำว่า “อินกิบาบุน” ในความหมายและการนำไปใช้นั่นเองครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น