ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

ความสุดยอดของภาษาอาหรับ

ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุด และเป็นแหล่งของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป และเป็นภาษาที่ใช้ในการขับเคลื่อนวิทยาการด้านต่างๆ และเป็นภาษาของคัมภีร์ที่มีผู้อ่านและผู้ท่องจำมากที่สุดในโลก


     ภาษาอาหรับ เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ

     ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเผยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรีย

     นอกจากนี้ภาษาอาหรับยังเป็นภาษาของคัมถีร์ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลกนั่นคือคัมถีร์อัลกุรอาน ที่ประเทศอังกฤษ ทุกวันหลังเลิกเรียน จะมียุวชนมุสลิมกว่าหนึ่งพันคนเดินทางไปเรียนและท่องจำอัล-กุรอานตามมัสยิดต่างๆทั่วประเทศประมาณ 700 กว่ามัสยิด ยุวชนเหล่านี้เป็นอนุชนรุ่นที่สามของมุสลิมเชื้อสายอินเดีย ปากีสถานและบังกลาเทศ และที่ประเทศอังกฤษจะมีโรงเรียนท่องจำอัล-กุรอานจำนวนมาก ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มาจากซาอุดีอารเบีย แอฟริกา เอเซียและชาวอังกฤษ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีโรงเรียนเอกชนอิสลามประมาณ 120 กว่าโรง ในจำนวนนี้ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอังกฤษจำนวน 5 โรงเท่านั้น


     ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งกว่านั้น ประชาคมชาวยุโรปได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับความพยายามในการท่องจำอัล-กุรอานและพิทักษ์รักษาอัล-กุรอานอย่างลึกซึ้งและแนบแน่นมาก จะเห็นว่า อัล-กุรอานเล่มแรกถูกจัดพิมพ์ที่เมืองวานีเซีย ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ.1537 เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบอัล-กุรอานเล่มที่ถูกตีพิมพ์เล่มที่เก่าแก่ที่สุดที่โบสถ์แห่งหนึ่งในประเทศอิตาลี ส่วนคัมภีร์อัล-กุรอานที่ถูกจัดพิมพ์ในรูปแบบสมัยใหม่และมีความสวยงาม มีการจัดพิมพ์ครั้งแรกที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ.1694 ตามมาด้วยการจัดพิมพ์ที่รัสเซียในปี ค.ศ.1787 ด้วยรูปเล่มสวยงามมากสำหรับสมัยนั้น หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1877 จึงได้มีการจัดพิมพ์อัล-กุรอานในประเทศมุสลิม ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอุสมานียะฮฺ(ออตโตมัน)

     พึงทราบเถิดว่าในปัจจุบันนี้ มีสถาบันแห่งหนึ่งที่จัดพิมพ์อัล-กุรอานเป็นการเฉพาะและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตั้งอยู่ที่นครมาดีนะห์ ประเทศซาอุดีอารเบีย และเริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี ค.ศ.1984

     เหล่านั้นคือข้อมูล ที่บ่งชี้ว่า อัล-กุรอานถูกพิทักษ์ไว้ ถึงระดับที่มีผู้คนนับล้านทั่วโลกที่ท่องจำอัล-กุรอานได้ ตามรายงานของนิตยสารมุจตามาอ์ พบว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ.1947 ในประเทศปากีสถานได้เกิดกระแสนิยมทางศาสนาที่สูงมากในสังคมของประเทศนี้ จากข้อมูลพบว่า มีผู้ท่องจำอัล-กุรอานสามครัวเรือนต่อคน และทั่วประเทศมีผู้ท่องจำคัมภีร์อัล-กุรอาน (ฮาฟิซ) ตลอดทั้งเล่ม 7 ล้านกว่าคน ซุบฮานัลลอ

ที่มา
สำนักข่าวมุสลิม. 2553. ความสุดยอดของภาษาอาหรับ (ออนไลน์). สืบค้นจาก:  http://www.thaimuslim.com/view.php?c=3&id=7681 . [5  มิถุนายน 2555].

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น