ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

ทำไมจึงต้องเรียนภาษาอาหรับ ?

โดย อุมมุ มุบีน
10 ยอดเหตุผลแห่งการเริ่มเรียนภาษาอาหรับ 
คุณเคยคิดเรื่องการเรียนภาษาอาหรับบ้างไหม แล้วคุณก็ไม่แน่ใจว่าภาษาอาหรับจะเป็นประโยชน์อย่างไรได้บ้างไหม และที่นอกเหนือไปจากนั้น เหตุผลว่าทำไมทุกคนจึงควรเรียนภาษาสักหนึ่งภาษา นี่ก็เป็นอีกเหตุผลสำคัญ 10 ประการเช่นกันว่า ทำไมภาษาอาหรับจึงอาจเป็นตัวเลือกสุดยอดสำหรับคุณก็เป็นได้
1. ภาษาอาหรับเป็นภาษาประจำชาติที่ใช้พูดกันโดยทั่วไปมากที่สุด อยู่ในอันดับที่ 5
ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางราชการของประเทศต่างๆกว่า 20 ประเทศ และมีผู้พูดเป็นภาษาประจำชาติอีกกว่า 300 ล้านคน คนที่พูดภาษาอาหรับจะอยู่กันหนาแน่นในแถบตะวันออกกลาง และมีเป็นกลุ่มๆอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก นอกจากนี้ภาษาอาหรับยังเป็นภาษาทางราชการขององค์การสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับ องค์กรการประชุมอิสลาม และสหภาพแอฟิกัน
2. ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางศาสนาของอิสลาม
นอกจากเจ้าของภาษาหลายล้านคน ก็ยังมีผู้คนอีกนับล้านที่รู้ภาษาอาหรับในฐานะภาษาต่างประเทศ เนื่องจากเป็นภาษาของอัลกุรอาน ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ชาวมุสลิมทั่วโลก
3. คนที่พูดภาษาอาหรับได้ในโลกตะวันตก เป็นที่ต้องการสูง แต่มีจำนวนน้อย
ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวตะวันตกเพียงไม่กี่คนที่ยอมเรียนภาษาอาหรับ จากความสำคัญของตะวันออกกลางในด้านกิจการระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงยังคงมีความขาดแคลนอยู่มากในเรื่องของคนงานที่มีความเชื่ยวชาญ ด้านภาษาอาหรับ และวัฒนธรรมตะวันตกคนที่ศึกษาภาษาอาหรับเหล่านี้สามารถประกอบอาชีพได้หลาย สาขา อิทิ การเขียนข่าว ธุรกิจ อุตสาหกรรม การศึกษา การเงินและการธนาคาร การแปล การให้คำปรึกษา การบริการด้านต่างประเทศและข่าวกรอง และอื่นๆอีกมาก และ ในจำนวนสายลับ เอฟ บี ไอ 12,000 คน ของสหรัฐอเมริกา มีคนเพียงแค่ 1 % เท่านั้น ที่ไม่รู้ภาษาอาหรับ ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่รู้เพียงเล็กน้อยด้วย
4. มีแรงกระตุ้นด้านการเงินให้เรียนภาษาอาหรับ
รัฐบาลสหรัฐได้เลือกภาษาอาหรับให้เป็นภาษาที่มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ จึงได้มีการก่อตั้งโครงการภาษาทางยุทธศาสตร์แห่งชาติขึ้น เป็นสถาบันในปี พ.ศ.2549(2006) โดยส่งเสริมด้านการเรียนภาษาอาหรับ(และภาษาอื่นที่พิจารณาว่าสำคัญ) ในหมู่คนอเมริกัน โดยการให้ทุนการศึกษาจำนวนมาก และสนับสนุนให้มีโอกาสทางการเรียนในหลักสูตรภาษาระยะสั้น ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูง โครงการศึกษาต่อต่างประเทศ โอกาสทางการสอนที่มีอยู่มากมาย การแลกเปลี่ยนครูและการพัฒนาด้านอาชีพ
5. ชาติที่พูดภาษาอาหรับเป็นตลาดที่โตเร็วด้านการค้า
ความ คิดริเริ่มในการที่จะผสานโลกอาหรับเข้าไว้ในเศรษฐกิจโลก เป็นการเปิดโอกาสอย่างมากให้กับธุรกิจในแถบตะวันตกเฉียงเหนือ ภูมิภาคอาหรับที่มีประชากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีตลาดส่งออกสินค้าและการบริการที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่ง และด้วยจำนวนผลผลิตมวลรวมภายในประเทศกว่า 600 ล้าน ล้านดอลล่าร์ต่อปี ก็ได้ทำให้ภูมิภาคแถบนี้สามารถส่งออกให้กับตลาดโลกได้อีกมากเช่นกัน และเพื่อที่จะดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลากรจะต้องเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของคนผู้ซึ่งหวังจะเจรจาและทำการค้าด้วย
6. ผู้ที่พูดภาษาอาหรับได้มีคุณูปการต่ออารยธรรมโลก
ในขณะที่ยุโรปรับรู้ถึงการชะงักงันทางด้านความรู้ของยุคกลาง อารยธรรมอาหรับอิสลามก็ได้รับความเจริญถึงขีดสุด โดยคนอาหรับได้ทำคุณประโยชน์อย่างมากให้กับความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์และปรัชญา โดยความรู้มากมายที่ได้รับจากวัฒนธรรมกรีก โรมัน และไบเซนไทน์นั้น มาจากสิ่งที่ได้มีการเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของชาวอาหรับ นอกจากนี้ชาวอาหรับยังได้ทำประโยชน์ที่สำคัญอีกหลายๆสาขา เช่น วรรณคดี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การค้นคว้า โหรศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เพราะความรู้ทางภาษาอาหรับสามารถสืบเสาะเข้าไปในส่วนขององค์ความรู้ที่มีอยู่มหาศาลในภาษาดั้งเดิมของศาสตร์เหล่านั้นได้
7. โลกที่ใช้ภาษาอาหรับมีมรดกทางวัฒนธรรมอยู่มาก
โลกอาหรับมีศิลปะ ดนตรี วรรณคดี อาหาร วิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ชาวตะวันตกรู้จักระบำหน้าท้องหรืออาจจะเคยอ่านเรื่องหนึ่งพันราตรี และอาจเคยทำอาหารตะวันออกกลางที่นิยมกัน เช่น ฮุมมุส ฟาลาเฟล อาหารอาหรับประเภทลูกชิ้นทอด ทำด้วยถั่วเมล็ดใหญ่สีน้ำตาล แต่ประสบการณ์ของคนตะวันตกในเรื่องวิถีชีวิตมีจำกัด ดังนั้นการท่องไปในโลกอาหรับจะทำให้คุณได้เรียนรู้และซาบซึ้งถึงผลิตผลทาง วัฒนธรรมและเข้าใจถึงคุณค่าบางอย่างที่มีความสำคัญต่อคนอาหรับ เช่น เกียรติยศ ความสุขุมเยือกเย็น และความเอื้อเฟื้อ
8. การรู้ภาษาอาหรับสามารถส่งเสริมความเข้าใจ ระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างได้
นอกจากการมีประสบการณ์อันจำกัดในเรื่องของวัฒนธรรมอาหรับที่แท้จริงแล้ว ชาวตะวันตกยังได้รับการนำเสนอเกี่ยวกับกลุ่มที่พูดภาษาอาหรับในลักษณะเหมา รวมที่เป็นด้านลบผ่านสื่อต่างๆ จากภาพยนต์ฮอลีวูด และจากแหล่งอื่นๆ
ขณะเดียวกันเหตุการณ์ต่างๆในโลกตะวันออกกลางก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ของเรา การเชื่อถือในภาพลักษณ์ที่ผิดๆ และมองเพียงผิวเผินสามารถที่จะนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ รวมถึงการสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง การไม่สามารถร่วมมือกันได้ การเจรจา การประนีประนอม หรือนำไปสู่การเผชิญหน้ากันทางทหาร
ทั้งนี้ผู้ที่เรียนภาษาอาหรับจะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากกว่าในคุณค่า วัฒนธรรม การเมืองและการศาสนา ซึ่งจะสามารถเจรจาเพื่อลดช่องว่างทางภาษาและวัฒนธรรมระหว่างชาติต่างๆได้ ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมได้ และช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านการค้าระหว่างประเทศประสบความสำเร็จ
9. อิทธิพลของภาษาอาหรับปรากฏอย่างชัดเจนอยู่ในภาษาอื่น
การ ส่งออกในด้านความคิด สินค้า และการแสดงออกทางวัฒนธรรมจากคนที่พูดภาษาอาหรับปรากฏอย่างชัดเจน ในคำศัพท์ภาษาอื่นๆที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ คำว่า เรขาคณิต(algebra) ที่คิดค้นขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวอาหรับในยุคกลาง สินค้าที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เช่น กาแฟ(Coffee) และผ้าฝ้าย(Cotton) มาจากโลกอาหรับ รวมทั้งดอกมะลิ(jasmine) มะนาวผลสีเหลือง(lemon) และมะนาวผลสีเขียว(lime) คำยืมภาษาอาหรับที่ปรากฏในภาษาอังกฤษ บ่งบอกถึงความหมายของสิ่งที่แตกต่างกันออกไป เช่น สมุนไพรเฮนน่า(henna) ศิลปะการถักเชือกเมคราเม่(macrame) กีต้าร์อาหรับที่เรียกว่าอู๊ด(lute) ที่นอน(mattress) หนูทะเลทราย(gerbil) ซอเบท์ของหวานที่ทำมาจากผลไม้ แล้วนำมาแช่แข็ง(sorbet) ทุ่งหญ้าซาฟารี(safari) และผ้ามัสลิน(muslin) อิทธิพลของภาษาอาหรับมิได้ปรากฏอยู่ในภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังมีคำที่นำมาใช้เขียนอีกเป็นจำนวนมาก ที่พอสังเกตเห็นได้ในภาษาเปอร์เซีย ตุรกี เคอร์ดิช สเปน ซวาฮิลี อุรดู และในภาษาอื่นๆ
10. ประเทศสหรัฐอเมริกามีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอาหรับ อเมริกัน
ผลการสำรวจของสำนักสำมะโนประชากรสหรัฐปี พ.ศ.2545(2002) พบว่ามีคนจำนวน 1.2 ล้านคนที่สืบทอดเชื้อสายชาวอาหรับอาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา แม้ว่าจะด้วยประชากรเพียงเล็กน้อยนี้ แต่ก็มีปริมาณการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ 1990 (พ.ศ. 2533-2543) และจากการที่ว่า วัฒนธรรมเริ่มที่บ้านนั้น แม้เพียงความรู้พื้นฐานในเรื่องของภาษาอาหรับ และวัฒนธรรมก็สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและยอมรับให้แก่ชาวอเมริกัน กลุ่มนี้ที่มักถูกเข้าใจผิดและตีความผิดได้

ที่มา  http://www.pasaarab.com

2 ความคิดเห็น:

เป็นบล๊อคที่ให้ความรู้ด้านภาษา และวัฒนธรรมที่ดีมาก ๆ เลยครับ
โหวตให้อีก 1 คะแนน(230) จากสามก๊กวิทยา
http://www.thailandblogawards.com/blogs/show/1449

ขอบคุณครับ สำหรับคะแนนโหวต

แสดงความคิดเห็น