ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

วัฒนธรรมชาวอาหรับ


DO’s and DON’Ts in Arabian Society
สิ่งที่ควรทำ และ ไม่ควรทำในสังคมชาวอาหรับ



การแต่งกาย
- ควรดูความเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ โดยดูตามกาลเทศะ
- การนุ่งกางเกงขาสั้นมากๆ หรือผู้ชายที่ไม่ใส่เสื้อในที่สาธารณะเป็นการไม่สุภาพ
- ส่วนการที่ชาวต่างชาติแต่งตัวด้วยชุดพื้นเมือง อาจถูกมองว่าเป็นการล้อเลียน

มารยาททางสังคม
- ควรยืนขึ้นเมื่อมีคนเข้ามาในห้อง
- ถ้าเราเป็นผู้เข้ามาในห้อง ให้จับมือกับทุกคน โดยเริ่มจากคนที่อยู่ทางขวามือของเราก่อน
- ผู้ชายไม่ควรยื่นมือเพื่อจับมือกับผู้หญิงอาหรับ นอกจากว่าฝ่ายหญิงยื่นมือให้ก่อน หากฝ่ายหญิงไม่ยื่นมือให้ก่อน ให้ทักทายด้วยวาจาก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว
- ผู้ชายไม่ควรชม ภรรยา, น้องสาว, และ ลูกสาวของชาวอาหรับว่า สวย หรือ น่ารัก เพราะจะถือว่าเป็นการไม่สุภาพ
- ชายมุสลิมบางคน จะไม่จับมือกับผู้หญิงที่ไม่อยู่ในครอบครัวของเขา
- ชาวมุสลิมจะปฏิบัติตัวแบบอนุรักษ์นิยมในการเข้าสังคม (Conservative Behavior) และถือความเป็นส่วนตัว (Privacy)
- การแสดงความรักระหว่างสามี-ภรรยา จะไม่ทำในที่สาธารณะในการเข้ากลุ่มสังคม, การพูดคุย หยอกล้อ และ หัวเราะ จะกระทำด้วยเสียงที่เบา ไม่รบกวนผู้อื่น
- หากมีข้อโต้แย้งในครอบครัว หรือ กับญาติ และ เพื่อนฝูง จะไม่โต้เถียงกันต่อหน้าฝูงชนหรือผู้อื่น
- ควรหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นอาย หรือ เสียหน้า (“Save Face” concept), และ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า (Non-confrontational)
อย่าใช้มือซ้าย รับประทานอาหาร, ถือถ้วยชา-กาแฟ, หรือ ส่งของต่อให้ผู้อื่น
- ห้ามชี้ปลายเท้าไปยังผู้อื่น หรือ สิ่งของสำคัญ
- ไม่ควรนำอาหาร, เครื่องดื่ม, หรือ ของขวัญไปยังบ้านที่เขาเชิญเราไปเป็นแขกผู้มาเยือน
- ส่วนมากเจ้าภาพ หรือ เจ้าของบ้านชาวอาหรับจะจัดให้นั่งเป็นวงกลมเพื่อให้มองเห็นกันทุกคน ไม่มีใครต้องมองหลังผู้อื่น
- การนั่ง อาจจะนั่งบนพื้นที่ถูกปูด้วยพรมเปอร์เซีย หรือ อาจนั่งบนเก้าอี้ แล้วแต่รสนิยมของเจ้าภาพ และ ความเหมาะสม
ชาวอาหรับจำนวนมากจะเริ่มการประชุม หรือพบปะเจรจาต่างๆ ในครั้งแรกๆด้วยการพูดคุยเพียงเล็กน้อยก่อน เพื่อทำความคุ้นเคยกันก่อน หากอีกฝ่ายเริ่มรุกอย่างรวดเร็วเพื่อเจรจาทางธุรกิจในทันที อาจถูกต่อต้าน หรือ ถอยหนีเพราะความอึดอัดในการเจรจา
- เป็นเรื่องปกติที่ชาวอาหรับจะไม่กล่าวคำว่า ขอบคุณบ่อยๆ ถึงแม้ว่าเขาจะรู้สึกขอบคุณเราอยู่
- นักท่องเที่ยวหญิงไม่ควรสบตาชายอาหรับ เพราะจะถูกมองว่าไม่สุภาพ
- การแสดงความขอบคุณในของขวัญให้ทำแบบเรียบๆ และ ไม่ต้องให้ยืดยาว อย่าแกะห่อของขวัญต่อหน้าผู้ให้

กาแฟ หรือ ชา
- ในงานเลี้ยง ผู้ถูกเชิญควรอยู่ให้ถึงเวลา ชา-กาแฟท้ายมื้อ มิฉนั้นจะถือว่าไม่สุภาพ
- การปฏิเสธไม่รับชา-กาแฟที่เจ้าภาพเสนอถือว่าไม่สุภาพ
- ชา กาแฟ จะถูกรินใส่ถ้วยเล็กๆ ครึ่งถ้วย การเติมชา-กาแฟ ไม่ควรเกิน 3 ถ้วย และเมื่อพอแล้ว ควรส่งสัญญาณเล็กน้อย เพื่อให้พนักงานมาเก็บถ้วย

สวดมนต์
- ชาวอาหรับจะสวดมนต์วันละ 5 ครั้ง (เช้า, กลางวัน, กลางบ่าย, พระอาทิตย์ตก, และ กลางคืน) ครั้งละประมาณ 15 นาที

ชั่วโมงธุรกิจ (Business Hours)
- ส่วนมากจะทำงานตั้งแต่วันเสาร์ เช้าวันพฤหัสบดี
- วันศุกร์เป็นวันหยุดงานเพื่อสวดมนต์

การถ่ายภาพ
- ห้ามถ่ายภาพบุคคลอื่น หรือ สถานที่สำคัญ โดยไม่ได้รับอนุญาต
- หลีกเลี่ยงการหันกล้องถ่ายรูปไปที่ สถานีตำรวจ, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, สนามบิน, วัง, หรือ สถานฑูต

การดื่มแอลกอฮอล์ และ การบริโภคเนื้อหมู
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ หมู ถือเป็นของต้องห้ามทางศาสนา
- บางประเทศในกลุ่มอาหรับนี้อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่ถ้าจับได้ว่าขับรถในขณะมึนเมา จะลงโทษเข้มงวดมาก ทั้งปรับ และจำคุก


BIBLIOGRAPHY

Middle East
Cheshire, Gerard, and Paula Hammond. The Middle East: Cultures and Costumes.
Broomall, PA: Mason Crest Publishers, 2003.
Bahrain
Gillespie, Carol Ann. Bahrain: Modern World Nation. Philadelphia: Chelsea House,
2002.
Iran
Rajendra, Vijeya. Iran: Cultures of the World. Marshall, New York: Cavendish,
1991.
Spencer, Lauren. Iran: A Primary Source Cultural Guide. New York: PowerPlus,
2004.
Oman
Callan, Lou, and Gordon Robison. Oman & the United Arab Emirates. Melbourne:
Lonely Planet Publication, 2000.
Creative Media Appilcations. Discovering World Cultures Volume 3, Jordan, Kuwait,
Lebanon, Oman: the Middle East. Westport, CT: Greenwood Press, 2004.
Saudi Arabia
Cane, Graeme, and Dynise Balcavage. Welcome to Saudi Arabia. Milwaukee, Wis:
Gareth Stevens Pub., 2002.
Goodwin, William. Saudi Arabia: Modern Nations of the World. San Diego: Lucent
Books, 2001.


1 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น