โครงการอิสลามศึกษาฯ ม.วลัยลักษณ์
ในประเทศอียิปต์ประธานาธิปดีฮุสนี มุบารอก ต้องลงจากอานาจในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2011 หลังจากการประท้วงใหญ่ 18 วัน อันเป็นการสิ้นสุดการครองอานาจ 30 ปีของเขา การเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศตูนิเซียและอียิปต์ค่อนข้างราบรื่น แตกต่างไปจากที่เกิดขึ้นในลิเบีย ที่นาไปสู่สงครามกลางเมืองและการแทรกแซงของกองกาลังนาโต้ เพื่อเปิดทางให้กองกาลัง National Transitional Council (NTC) เข้าควบคุมกรุงทริโปลีในวันที่ 23 สิงหาคม 2011 ล้มอานาจของผู้นาลิเบีย มุอัมมัร กัดดาฟี และเขาได้ถูกสังหารในวันที่ 20 ตุลาคม 2012 ในเมือง Sirte ที่เป็นบ้านเกิดของเขาเอง
ในเยเมนการเดินขบวนเรียกร้องให้ประธานาธิบดี อาลี อับดุลลอฮฺ สาและ ให้ลงจากอานาจและจัดให้มีการเลือกตั้ง การประท้วงดาเนินไปเป็นเวลานานจนกระทั่งประธานาธิบดี อาลี อับดุลลอฮฺ สาและ ยอมลงจากอำนาจ โดยการโอนอานาจให้กับอับดุลร็อบ มันซูร อัล-ฮาดี ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2012 เพื่อดาเนินการตามข้อเรียกร้องของประชาชน ในขณะที่กาลังเขียนบทความนี้ซีเรียกาลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อานาจของประธานาธิบดีบาชาช อัล-อัสสัด กาลังถูกท้าทาย การประท้วงและการปราบปรามที่หนักหน่วงได้นาไปสู่สภาพสงครามการเมืองที่ยอดผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเรื่อยจนเกือบจะถึงหนึ่งหมื่นคน ดูเหมือนว่าปัญหาในซีเรียในขณะนี้จะไม่สามารถจบลงง่ายๆ เพราะมหาอานาจดังเช่น รัสเซียและจีน เข้าไปปกปูองประธานาธิบดีบาชาช อัล-อัสสัดและรัฐบาลซีเรียอย่างแข็งขัน ในขณะที่สหรัฐและยุโรป ให้การสนับสนุนมติของสันนิบาตประเทศกลุ่มอาหรับที่ต้องการให้รัฐบาลซีเรียหยุดการเข่นฆ่าประชาชนของตัวเอง ความซับซ้อนของปัญหาในตะวันออกกลางเริ่มที่จะเฉลยเบื้องหลังของมันอย่างช้าๆ ซีเรียจึงกลายเป็นที่ๆภาพเล็กๆทั้งหลายกาลังประติดประต่อกันเป็นภาพใหญ่ และทีนี้ยากเหลือเกินที่ประเทศที่เข้าไปเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน อิหร่าน ตุรกี และโลกอาหรับ จะสามารถซ่อนเร้นความเป็นตัวตนที่แท้จริงได้แนบเนียนอีกต่อไป
อาหรับสปริงเป็นเหมือนกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ลูกโซ่ ที่เกิดขี้นอย่างไม่คาดฝัน และมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องจนครอบคลุมโลกมุสลิม ไม่ว่าที่ใดมุสลิมจะได้รับผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แม้แต่ผู้ชาชองในการทานายแนวโน้มอนาคตภูมิรัฐศาสตร์ ดังเช่น George Friedman ที่ปรึกษาภูมิรัฐศาสตร์ของกองทัพสหรัฐ และเป็นผู้เขียนหนังสือ The World in the Next 100 years ที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งของโลกในปี 2008 ก็ไม่สามารถคาดการณ์ว่าเหตุการณ์ทานองนี้ จะเกิดได้ในประเทศกลุ่มอาหรับ ที่ถูกตราหน้าว่าประชาชนของประเทศเหล่านี้อ่อนแอเกินที่จะต่อรองกับอำนาจรัฐได้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐเผด็จการหรือสมบูรณาญาสิทธิราชก็ตาม ที่หนักไปกว่านั้น นักวิชาการไม่ว่าตะวันตกและตะวันออกส่วนใหญ่ต่างก็มีความเห็นว่า ประชาธิปไตยไม่สามารถเบิกบานในโลกอาหรับ จนถึงปัจจุบันนี้พวกเขาก็ยังไม่เชื่อว่าอาหรับสปริงจะนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยตามความหมายที่เขาเข้าใจกัน
การมองอาหรับสปริงว่าเป็นผลพวงของความกดดันที่เกิดจากการกดขี่เอารัดเอาเปรียบของกลุ่มคนผู้ที่มีอานาจ ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐ หรือการขาดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานที่ประชาชนพึงมี ย่อมไม่เพียงพอที่จะเห็นภาพใหญ่ ที่เป็นแนวโน้มระยะยาวได้มากนัก มันทาให้เราเห็นแต่ภาพเล็กๆ ที่ดึงความสนใจออกจากที่มาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตลอดศตวรรษนี้ ถึงแม้ว่าเราไม่สามารถละเลยปัจจัยที่จุดชนวนให้เกิดการประทุของอาหรับสปริงเหล่านี้ได้ เราจาเป็นที่จะต้องถอยห่างออกไปจากภาพเล็กๆเหล่านี้ หากเราต้องการที่จะเห็นเบื้องหลังที่แท้จริง ซึ่งเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่แท้จริง...
อ่านฉบับเต็มได้ที่ >> http://iswu.wu.ac.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น