ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

อาหรับราตรี ( ألف ليلة وليلة : พันหนึ่งราตรี)


1000 laila1“พันหนึ่งราตรี” หรือที่บางคนอาจรู้จักกันในชื่อ “อาหรับราตรี” เป็นนิยายและนิทานพื้นบ้านในแถบตะวันออกกลางไปจนถึงเอเชียใต้ ถูกรวบรวมขึ้นเป็นภาษาอารบิคในช่วงยุคทองของอิสลาม (ประมาณกลางศตวรรษที่ 7 ถึงกลางศตวรรษที่ 13) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าดินแดนในแถบนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการค้าและศิลปวิทยาการ ทำให้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในดินแดนแห่งนี้มากมายหลากหลายเชื้อชาติ แต่ละเชื้อชาติที่เดินทางเข้ามาก็จะมีการเล่านิทานพื้นบ้านรวมถึงการเดินทางของตนให้ชาวบ้านแถบนี้ฟัง จนเกิดเป็นนิทานที่เล่ากันแบบปากต่อปากเป็นภาษาอารบิคชื่อว่าอัลฟ เลย์ลา วา เลย์ลา (ALF LAYLA wa-LAYLA) ในที่สุด

520419
นิยายอาหรับราตรี พันหนึ่งราตรี

          ในช่วงเวลาใกล้จะถึงกลางศควรรษที่สิบนั้น อัลฟ ลัยละฮ์ วะ ลัยละฮ์ (พันหนึ่งราตรี) ได้ก่อตัวขึ้นในอิรัก รากฐานของตัวร่างนี้ถูกวางรากฐานขึ้นโดยญะฮ์ชิยาริ (สิ้นชีวิตในปี 942) จากวานเก่าแก่ของเปอร์เชียคือ หะซาร อัฟซานะ (นิทานพันเรื่อง) อันรวมเอาเรื่องราวหลากหลายที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย ญะฮ์ชิยาริได้ผนวกนิทานเรื่องอื่นๆ ของนักเล่านิทานพื้นเมืองเข้าไป หะซาร อัฟซานะ ได้ให้ทั้งกรอบและการวางเค้าโครงของเรื่อง รวมไปถึงชื่อตัวละครที้งชายและหญิงรวมทั้งตัวนางชะฮ์ระซาดด้วย ยิ่งเวลาผ่านไป เรื่องที่ผนวกเข้ามาจากแหล่งต่างๆ ก็มีอย่างนับไม่ถ้วน ทั้งเรื่องของอินเดีย กรีซ ฮิบรู อียิปต์ และอื่นๆ นิทานพื้นบ้านของโลกตะวันออกทุกประเภทถูกซึมซับเข้ามาผ่านระยะเวลานับศตวรรษ เกร็ดขับขันและเรื่องรักซาบซึ้งเป็นจำนวนมากได้มาจากราชสำนักแห่งฮารูน อัลรอชีด รูปร่างหน้าตาของพันหนึ่งราตรีในยุคท้ายสุดยังไม่เป็นอย่างเราเห็น จวบจนกระทั่งมาถึงช่วงปลายราชวงศ์มัมลู้กแห่งอียิปต์ ด้วยลักษณะที่มีความหลากหลายของหนังสือนี้ ก่อให้เกิดคำพูดที่สนุกสนานชวนหัวดังที่นักวิจารณ์รุ่นใหม่ๆ ได้นิยามเอาไว้ว่าอาหรับราตรีเหมือนกับนิทานแบบเปอร์เซีย ที่ถูกเล่าด้วยอากัปกิริยาของพระพุทธเจ้า โดยควีนเอสเธอร์ ซึ่งเล่าให้กับฮารูน อัลราสชิด (Haroun Alraschid) แห่งไคโรเมื่อศตวรรษที่ 14 ของชาวคริสต์อาหรับราตรีถูกแปลเป็นครั้งแรกสู่ภาษาฝรั่งเศสดดยกาลองด์ หลังจากนั้นก็ได้แปลไปสู่ภาษาสำคัญๆ ของยุโรปสมัยใหม่และเอเชีย รวมทั้งกลายเป็นงานวรรณกรรมอาหรับซึ่งเป็นที่นิยมกันมากที่สุดในโลกตะวันตกมากเสียยิง่กว่าความนิยมที่มีอยู่ในโลกตะวันออกที่เป็นมุสลิมด้วยซ้ำ ในภาษาอังกฤษนั้นฉบับแปลที่สำคัญครั้งแรก ซึ่งแม้จะไม่ครบบริบูรณ์แต่ก็ถูกต้องแม่นยำ คือฉบับของ แอ้ดเวิร์ด วิลเลียมเลน เป็นฉบับที่มีคำอธิบายอย่างครบถ้วนทรงคุณค่า และได้รับการจัดพิมพ์ใหม่หลายครั้ง ส่วนฉบับแปลของจอห์น เพย์นนั้น เป็นฉบับภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด เป็นฉบับที่สมบูรณ์หากแต่ไม่มีคำอธิบายความ ฉบับแปลของเวอร์ริชาร์ด เอฟ เบอร์ตันนั้น ยึดตามฉบับของเพย์น จะเว้นก็แต่ส่วนที่เป็นบทกวีนิพนธ์ และมีความพยายามที่จะปรับแต่งโดยพยายามที่จะคงกลิ่นอายที่เป็นตะวันออกตามแบบต้นฉบับ

1000 laila
พันหนึ่งราตรีและการเล่านิทานแบบอาหรับ

           อัลฟ เลย์ลา วา เลย์ลา เป็นคำภาษาอารบิคหมายถึง “หนึ่งพันกับอีกหนึ่งคืน” ได้นำเอาเรื่องเล่าที่มีอยู่มากมายในขณะนั้นมาผูกกันขึ้นเป็นนิทานเรื่องใหม่ในรูปแบบของนิทานซ้อนนิทาน โดยสร้างเรื่องราวให้พระเจ้าซาห์เรียร์ทรงมีความแค้นกับสตรี เพราะพระมเหสีนอกใจไปคบชู้กับทาสผิวดำ จึงได้สาบานกับตัวเองไว้ว่าเมื่อร่วมเรียงเคียงหมอนกับสตรีใดในชั่วข้ามคืนก็จะทรงสังหารนางเสียในวันรุ่งขึ้น
เหตุการณ์ดำเนินไปเช่นนี้สามปี จนกระทั่งนางซาห์ราซัด ลูกสาวของมหาอำมาตย์เอกทนไม่ไหวกับการกระทำของพระเจ้าซาห์เรียร์ที่นำหญิงสาวในเมืองมาบำเรอแล้วประหารทิ้ง จึงขออาสาถวายตัวเพื่อหยุดยั้งการเข่นฆ่านี้ ทุกคืนนางซาห์ราซัดจะเล่านิทานให้พระเจ้าซาห์เรียร์กับน้องสาวของนางชื่อดุนยาซัดฟัง และตั้งใจจะหยุดเรื่องเอาไว้ในตอนสำคัญๆ เมื่อถึงเวลารุ่งสางพอดี ทำให้พระเจ้าซาห์เรียร์ไม่อาจหักใจประหารชีวิตนางได้เพราะต้องการฟังนิทานต่อในคืนถัดไป นิทานที่นางซาห์ราซัดเล่าให้พระเจ้าซาห์เรียร์ฟังมาตลอดถึงหนึ่งพันกับอีกหนึ่งคืนนี้เองคือเรื่องราวที่รวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่ามากมายเหล่านั้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น