ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

บล็อกเอกภาษาอาหรับ ม.อ. ปัตตานี

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกเพื่อการเรียนรู้ภาษาอาหรับ พื้นที่เรียนรู้ภาษาอาหรับในโลกใบใหญ่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ี

"มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชีย ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และทำนุบำรุงวัฒนธรรม โดยมีการวิจัยเป็นฐาน"

บทความ/กิจกรรมล่าสุด

วัฒนธรรมชาวอาหรับ


DO’s and DON’Ts in Arabian Society
สิ่งที่ควรทำ และ ไม่ควรทำในสังคมชาวอาหรับ



การแต่งกาย
- ควรดูความเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ โดยดูตามกาลเทศะ
- การนุ่งกางเกงขาสั้นมากๆ หรือผู้ชายที่ไม่ใส่เสื้อในที่สาธารณะเป็นการไม่สุภาพ
- ส่วนการที่ชาวต่างชาติแต่งตัวด้วยชุดพื้นเมือง อาจถูกมองว่าเป็นการล้อเลียน

มารยาททางสังคม
- ควรยืนขึ้นเมื่อมีคนเข้ามาในห้อง
- ถ้าเราเป็นผู้เข้ามาในห้อง ให้จับมือกับทุกคน โดยเริ่มจากคนที่อยู่ทางขวามือของเราก่อน
- ผู้ชายไม่ควรยื่นมือเพื่อจับมือกับผู้หญิงอาหรับ นอกจากว่าฝ่ายหญิงยื่นมือให้ก่อน หากฝ่ายหญิงไม่ยื่นมือให้ก่อน ให้ทักทายด้วยวาจาก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว
- ผู้ชายไม่ควรชม ภรรยา, น้องสาว, และ ลูกสาวของชาวอาหรับว่า สวย หรือ น่ารัก เพราะจะถือว่าเป็นการไม่สุภาพ
- ชายมุสลิมบางคน จะไม่จับมือกับผู้หญิงที่ไม่อยู่ในครอบครัวของเขา
- ชาวมุสลิมจะปฏิบัติตัวแบบอนุรักษ์นิยมในการเข้าสังคม (Conservative Behavior) และถือความเป็นส่วนตัว (Privacy)
- การแสดงความรักระหว่างสามี-ภรรยา จะไม่ทำในที่สาธารณะในการเข้ากลุ่มสังคม, การพูดคุย หยอกล้อ และ หัวเราะ จะกระทำด้วยเสียงที่เบา ไม่รบกวนผู้อื่น
- หากมีข้อโต้แย้งในครอบครัว หรือ กับญาติ และ เพื่อนฝูง จะไม่โต้เถียงกันต่อหน้าฝูงชนหรือผู้อื่น
- ควรหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นอาย หรือ เสียหน้า (“Save Face” concept), และ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า (Non-confrontational)
อย่าใช้มือซ้าย รับประทานอาหาร, ถือถ้วยชา-กาแฟ, หรือ ส่งของต่อให้ผู้อื่น
- ห้ามชี้ปลายเท้าไปยังผู้อื่น หรือ สิ่งของสำคัญ
- ไม่ควรนำอาหาร, เครื่องดื่ม, หรือ ของขวัญไปยังบ้านที่เขาเชิญเราไปเป็นแขกผู้มาเยือน
- ส่วนมากเจ้าภาพ หรือ เจ้าของบ้านชาวอาหรับจะจัดให้นั่งเป็นวงกลมเพื่อให้มองเห็นกันทุกคน ไม่มีใครต้องมองหลังผู้อื่น
- การนั่ง อาจจะนั่งบนพื้นที่ถูกปูด้วยพรมเปอร์เซีย หรือ อาจนั่งบนเก้าอี้ แล้วแต่รสนิยมของเจ้าภาพ และ ความเหมาะสม
ชาวอาหรับจำนวนมากจะเริ่มการประชุม หรือพบปะเจรจาต่างๆ ในครั้งแรกๆด้วยการพูดคุยเพียงเล็กน้อยก่อน เพื่อทำความคุ้นเคยกันก่อน หากอีกฝ่ายเริ่มรุกอย่างรวดเร็วเพื่อเจรจาทางธุรกิจในทันที อาจถูกต่อต้าน หรือ ถอยหนีเพราะความอึดอัดในการเจรจา
- เป็นเรื่องปกติที่ชาวอาหรับจะไม่กล่าวคำว่า ขอบคุณบ่อยๆ ถึงแม้ว่าเขาจะรู้สึกขอบคุณเราอยู่
- นักท่องเที่ยวหญิงไม่ควรสบตาชายอาหรับ เพราะจะถูกมองว่าไม่สุภาพ
- การแสดงความขอบคุณในของขวัญให้ทำแบบเรียบๆ และ ไม่ต้องให้ยืดยาว อย่าแกะห่อของขวัญต่อหน้าผู้ให้

กาแฟ หรือ ชา
- ในงานเลี้ยง ผู้ถูกเชิญควรอยู่ให้ถึงเวลา ชา-กาแฟท้ายมื้อ มิฉนั้นจะถือว่าไม่สุภาพ
- การปฏิเสธไม่รับชา-กาแฟที่เจ้าภาพเสนอถือว่าไม่สุภาพ
- ชา กาแฟ จะถูกรินใส่ถ้วยเล็กๆ ครึ่งถ้วย การเติมชา-กาแฟ ไม่ควรเกิน 3 ถ้วย และเมื่อพอแล้ว ควรส่งสัญญาณเล็กน้อย เพื่อให้พนักงานมาเก็บถ้วย

สวดมนต์
- ชาวอาหรับจะสวดมนต์วันละ 5 ครั้ง (เช้า, กลางวัน, กลางบ่าย, พระอาทิตย์ตก, และ กลางคืน) ครั้งละประมาณ 15 นาที

ชั่วโมงธุรกิจ (Business Hours)
- ส่วนมากจะทำงานตั้งแต่วันเสาร์ เช้าวันพฤหัสบดี
- วันศุกร์เป็นวันหยุดงานเพื่อสวดมนต์

การถ่ายภาพ
- ห้ามถ่ายภาพบุคคลอื่น หรือ สถานที่สำคัญ โดยไม่ได้รับอนุญาต
- หลีกเลี่ยงการหันกล้องถ่ายรูปไปที่ สถานีตำรวจ, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, สนามบิน, วัง, หรือ สถานฑูต

การดื่มแอลกอฮอล์ และ การบริโภคเนื้อหมู
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ หมู ถือเป็นของต้องห้ามทางศาสนา
- บางประเทศในกลุ่มอาหรับนี้อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่ถ้าจับได้ว่าขับรถในขณะมึนเมา จะลงโทษเข้มงวดมาก ทั้งปรับ และจำคุก


BIBLIOGRAPHY

Middle East
Cheshire, Gerard, and Paula Hammond. The Middle East: Cultures and Costumes.
Broomall, PA: Mason Crest Publishers, 2003.
Bahrain
Gillespie, Carol Ann. Bahrain: Modern World Nation. Philadelphia: Chelsea House,
2002.
Iran
Rajendra, Vijeya. Iran: Cultures of the World. Marshall, New York: Cavendish,
1991.
Spencer, Lauren. Iran: A Primary Source Cultural Guide. New York: PowerPlus,
2004.
Oman
Callan, Lou, and Gordon Robison. Oman & the United Arab Emirates. Melbourne:
Lonely Planet Publication, 2000.
Creative Media Appilcations. Discovering World Cultures Volume 3, Jordan, Kuwait,
Lebanon, Oman: the Middle East. Westport, CT: Greenwood Press, 2004.
Saudi Arabia
Cane, Graeme, and Dynise Balcavage. Welcome to Saudi Arabia. Milwaukee, Wis:
Gareth Stevens Pub., 2002.
Goodwin, William. Saudi Arabia: Modern Nations of the World. San Diego: Lucent
Books, 2001.


หนังสือ العربية بين يديك (เล่ม 1-3)






หนังสือสำหรับผู้เริ่มต้นในการเรียนรู้ภาษาอาหรับ ประกอบด้วย 3 เล่ม พร้อมไฟล์ mp3 CD เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ 2   นักเรียน  นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป  ในเล่มประกอบบทเรียนและแบบฝึกหัดเสริมทักษะผู้เรียนในทุกด้าน  ทั้งการฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  สนใจดาวโหลดได้ที่นี่...
أخذت العربية للجميع على عاتقها القيام بتأليف منهج علمي متكامل لتعليم اللغة العربية لغير الناطقين بها و أسندت مهمة التأليف إلى فريق علمي متخصص، من الأكاديميين أصحاب الخبرة الطويلة في هذا المجال وفي تعليم العربية لغير الناطقين بها.
كانت الخطوة الأولى قيام المؤلفين بمسح شامل لجميع كتب ومناهج تعليم العربية لغير الناطقين بها المتاحة لديهم، وكذلك لكمية كبيرة من سلاسل تعليم الإنجليزية، القديمة والحديثة، للوقوف على آخر ما تمّ في مجال تعليم اللغات لغير أهلها، لكي تكون مناهجها نقلة مهمة في برامج تعليم اللغة العربية لغير الناطقين بها، وقد حرصت العربية للجميع في المناهج على مراعاة من ليس له أدنى معرفة بالعربية، ثُم تتدرج حتى نصل بهم إلى إتقان المهارات الأساسية للغة.
وقد استغرق هذا منهم عدة أشهر تم خلالها جمع كثير من الخبرات والمهارات المتوفرة في هذه المناهج، كل ذلك حرصا على تقديم شيئا يعتبر خطوة إلى الأمام في باب مناهج تعليم اللغة العربية لغير الناطقين بها.
بعد المسح الشامل شرع المؤلفون في وضع الهيكل الأساسي للكتاب، ثم شرعوا في تأليفه حتى اكتملت سلسلة "العربية بين يديك" في سبعة كتب؛ ثلاثة كتب للطالب (يصاحبها مادّة صوتية مرفقة لجميع نصوص الكتاب)، يمثل الأول: المستوى المبتدئ، والثاني: المستوى المتوسط، و الثالث: المستوى المتقدّم، وثلاثة كتب للمعلم ( تشتمل على إرشادات و توجيهات في تعليم اللغات كما تشتمل على كيفية تدريس كتب الطالب الثلاثة، إضافة إلى احتوائها على حل جميع تدريبات كتاب الطالب)، والسابع معجم مصور.
تحتوي هذه السلسلة على منهج شامل لتعليم اللغة العربية لغير الناطقين بها، يبدأ مع الدارس من نقطة الصفر، ويستمر معه حتى يجيد العربية إجادة تمكّنه من مواصلة الدراسات العليا باللغة العربية. وهذا تعريف موجز بالسلسلة وكتبها.
أوّلاً: من مميّزات السلسلةِ:
  • أحدث سلسلة في تعليم اللغة العربية لغير الناطقين بـها.
  • الانتظام الهندسي البنائي للوحدات؛ فجاءت وحداته متناسقة.
  • تمت معالجة الأصوات والظواهر الصوتية بطرق مختلفة وبعضها جديد.
  • أخذت بنية كل كتاب منها شكلا يتناسب والمستوى التعليمي الذي وضع له.
  • وضع كل كتاب مع أشرطته في حقيبة؛ ليسهل تناولها والاستفادة منها.
  • أخرجت السلسلة إخراجا فنيا فريدا بين أمثاله.
  • تهتمّ السلسلة بالجنسين معاً؛ فتوجّه الخطاب لكلّ منهما.

ثانيا: أهدافُ السلسلةِ:
تهدِفُ السلسلةُ إلى تحقيق الكفاياتِ التاليةِ:
1 – الكفاية اللغوية: وتضمُّ ما يأتي:
أ_ المهاراتِ اللغويةَ الأربعَ، وهي:
1- الاستماعُ (فهمُ المسموعِ).
2- الكلامُ (الحديثُ).
3- القراءةُ (فهمُ المقروءِ).
4- الكتابةُ ( الآليةُ والإبداعيةُ).
ب_ العناصرَ اللغويةَ الثلاثةَ، وهي:
1- الأصواتُ ( والظواهرُ الصوتيةِ المختلفةِ).
2- المفرداتُ ( والتعابيرُ السياقيةُ والاصطلاحيةُ).
3- التراكيبُ النحويةُ (مع قدرٍ ملائمٍ من قواعدِ النحوِ والصرفِ والإملاءِ).
2 - الكفاية الاتصالية.
3 – الكفاية الثقافية.
ثالثا: جُمهورُ السلسلةِ:
السلسلةُ موجَّهةٌ للدارسين الراشدين.
رابعا: لُغةُ السلسلةِ:
تعتمدُ السلسلةُ على اللغةِ العربيةِ الفصيحةِ، دون اللجوء إلى لغة وسيطةٍ.
خامسا: مُكوِّناتُ السلسلةِ:
  • كتب تعليمية، وقُسِّمَت إلى ثلاثةِ مستوياتٍ تعليميةٍ، هي:
  • المستوى الأساسيُّ, ويضم: كتاب الطالب، وكتاب المعلّم.
  • والمستوى المتوسطُ, ويضم: كتاب الطالب، وكتاب المعلّم.
  • والمستوى المتقدمُ، ويضم: كتاب الطالب، وكتاب المعلّم.
  • مُعْجَمٌ عربي عربي ( المعجم العربي بين يديك ).
  • ملحق صوتي يقارب ثمان ساعات مصاحبة لكلّ كتاب من كتب الطالب الثلاثة.

سادسا: مُوَجِّهاتُ السلسلةِ: 
مِن المُوَجِّهاتِ التي أخَذَتْ بـها السلسلةُ ما يلي:
  • التّكامُلُ بين مهاراتِ اللغةِ وعناصرِها.
  • العنايةُ بالنظامِ الصوتيّ للغةِ العربيةِ, تمييزا وإنتاجا.
  • مراعاةُ التدرُّجِ في عرضِ المادةِ التعليميةِ.
  • مراعاةُ الفروقِ الفرديةِ بين الدارسين.
  • اختيارُ نصوصٍ متنوعةٍ (حوارات، سرد، قصة، …)
  • استخدامُ تدريباتٍ متنوعةٍ ومتعددةٍ.
  • ضبطُ النصوصِ بالشكلِ, كلّما اقتضتْ الحاجةُ ذلك.
  • اتباع نظامِ الوحدةِ التعليميةِ في عرضِ المادة.
  • ضبطُ عددِ المفرداتِ والتراكيبِ في كل وحدةٍ.
  • عرضُ المفرداتِ في سياقاتٍ تامَّةٍ.
  • الاهتمامُ بالجانبِ الوظيفي , عندَ عرضِ تراكيبِ اللغةِ.
  • الاهتمامُ بالمهاراتِ الشفهيةِ في المستوى الأوّل.
  • التوازُنُ بين عناصرِ اللغةِ ومهاراتِها.
  • وضعُ قوائمَ بالمفرداتِ والتعبيراتِ الواردةِ في كلِّ كتابٍ.
  • الإفادةُ من قوائمِ الألفاظِ الموجودةِ في العالمِ العربيّ.
  • الإفادةُ من قوائمِ التراكيبِ النحويةِ الشائعةِ.
  • وضعُ اختباراتٍ مرحليةٍ في كلِّ كتابٍ.
  • الإفادةُ من التجاربِ الخاصَّةِ بإعدادِ الموادِ التعليميةِ لتعليم اللغات.
  • عرضُ المفاهيمِ الثقافيةِ بأساليبَ شائقةٍ.
  • الاستعانةُ بالصورةِ ولا سيما في الكتاب الأوّل.

سابعا: الزّمنُ المُخصَّصُ لتدريسِ السلسلةِ:
الزمنُ المُخصّصُ لتدريسِ جميعِ كتبِ السلسلةِ 300 حِصَّةٍ تقريباً ( الحِصَّةُ نحوَ 45 دقيقة) 100 حِصَّةٍ لكلِّ مستوى من المستوياتِ الثلاثةِ تقريبا، ويمكن في حلة وجود ضعف معين أن يتم تطبيقها في 600 ساعة تقريبا.




كتاب الطالب الأول -العربية بين يديك

ดาวโหลด
mediafire

ดาวโหลด
4 shared

                                     
كتاب الطالب الثاني -العربية بين يديك

mediafire


4 shared

كتاب الطالب الثالث-العربية بين يديك

mediafire

4 shared



อิบนู อะหมัด
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ:
อิบนู อะหมัด นักศึกษาเอกภาษาอาหรับ รหัส 52
นักเขียนคอลัมทั่วไปบนเว็บบล็อกเอกภาษาอาหรับ ม.อ. ปัตตานี
"เป้าหมายสูงสุดในการเรียนภาษาอาหรับ คือการเผยแพร่สิ่งที่ร่ำเรียนมา"
ติดตามนักเขียน FB @ Emronarab

วิธีเพิ่มภาษาอาหรับให้คอมพ์ Window XP

วันนี้...คอมลัมทริปคอมพ์ฯ มาพบกับท่านนักอ่านอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายมานานกับการนำเสนอทริปน่ารู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะนำเสนอทริปวันนี้...ขอเกริ่นนำสักนิด..."ผมเชื่อว่าหลายๆ คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการ Setting หรือเพิ่มภาษาอาหรับให้กับคอมพ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ WindowXP ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยของเราก็ใช้วินโดว์ดังกล่าว วันนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับทริปน่ารู้เกี่ยวกับการตั้งค่า Setting เพิ่มภาษาอาหรับให้กับคอมพ์พิวเตอร์ของเรา หรือคอมพ์ที่เราๆ ใช้บริการที่ศูนย์คอมพ์ที่ไหนก็ตามที่ไม่มีการเเซ็ตค่าภาษาอาหรับ " เรามาเริ่มเรียนรู้กันดีกว่าครับ...

นี่คือหน้าตาของจอคอมพ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window XP หรือที่เราๆ คุ้นเคยกับการเล่นคอมพ์ที่ศูนย์คอมมหาลัยฯ ของเรา ...


  • ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนการเเซ็ตค่าเพิ่มภาษา ให้ท่านสังเกตแถบ  Taskbar ด้านล่าง (แถบสีนำเงิน)  คอมพ์ทุกเครื่องจะมีแถบภาษาปรากฎให้เราเห็นอยู่ข้างๆ จอด้านล่างขวา  ให้ท่านคลิกขวาที่ปุุ่มภาษาดังกล่าว เเล้วจะได้หน้าต่างดังภาพ  



  • หลังจากนั้นให้คลิก Setting เพื่่อไปสู่หน้าต่างเเซ็ตเพิ่มภาษาขั้นตอนต่อไป  จะได้หน้าต่างดังภาพ

  • คลิกที่คำสั้ง  Add  เพื่อเพิ่มภาษาอาหรับให้คอมพอวเตอร์ของเรา โดยในตัวเลือกภาษาจะมีภาษาอาหรับหลายหลายให้เลือก เช่น  Arabic (Oman), Arabic (Iraq) เเต่ในขั้นตอนนี้ให้เราเลือก Arabic (Saudi Arabia) ดังภาพ 

  • หลังจากเลือกภาษาอาหรับเรียบร้อยเเล้ว ก่อนคลิก OK ให้เราเเซ็ตค่าแป้นเปลี่ยนภาษาบนคีร์บอร์ดของเรา  เพราะในแป้นพิมพ์อาหรับพยัญชนะตัว  ذ  จะอยู่ที่คีร์บอร์ด  Grave Accent (`) หรือแป้นเปลี่ยนภาษาโดยปกติของคอมพ์ทั่วไปนั้นเอง  ดังนั้นเราจะต้องเเซ็คค่าเปลี่ยนแป้นพิมพ์ดังกล่าว โดยการปุ่มเปลี่ยนเปลี่ยนภาษาเดิมไปที่แป้นพิมพ์ใหม่บนคีร์บอร์ด โดยสามารถเเซ็ตค่าดังภาพ 

  1. ต่อจากขั้นตอนด้านบน (ภาพบน)  ให้เราเลือกคำสั่ง Key setting เเละจะปรากฎหน้าต่างดังภาพด้าล่าง จากนั้นให้เรา้เลือกคำสั่ง  Chang Key sequence เพื่อเเซ็ตค่าแป้นเปลี่ยนภาษาบนแป้นพิมพ์


      2. หลังจากเสร็จจขั้นตอนด้านบนจะได้หน้าต่าง ดังภาพ 


  • ให้เราเลือกคำสั่งหลัก Swich input  langguang (ด้านบนหน้าต่างภาพบน) ซึ่งเราสามารถเลือกคลิกได้ทั้ง 2 คำสั่งย่อย คือ CTRL หรือ Left ALT เเต่สองคำสั่งนี้จะเเซ็ตค่าแป้นเปลี่ยนภาษาบนคีร์บอร์ดที่ต่างกัน 
  • หากเราเลือกที่คำสั่ง  CTRL ปุ่มเปลี่ยนภาษาบนคีร์บอร์ดก็จะอยู่ที่แป้น 2 แป้นดังภาพ 
  • หากเราเลือกคำสั่ง  Left ALT   ปุ่มเปลี่ยนภาษาบนคีร์บอร์ดก็จะอยู่ที่แป้น 2 แป้นดังภาพ

**หมายเหตุ  
ปุ่มเปลี่ยนภาษาทั้ง2 รูปแบบ เราสามารถกดเปลี่ยนภาษาจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกถาษาหนึ่งโดยการกดปุ่มทั้งสองพร้อมกัน 



อิบนู อะหมัด
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ:
อิบนู อะหมัด นักศึกษาเอกภาษาอาหรับ รหัส 52
นักเขียนคอลัมทั่วไปบนเว็บบล็อกเอกภาษาอาหรับ ม.อ. ปัตตานี
"เป้าหมายสูงสุดในการเรียนภาษาอาหรับ คือการเผยแพร่สิ่งที่ร่ำเรียนมา"
ติดตามนักเขียน FB @ Emronarab

ที่มาของเดือนอาหรับ

ชาวอาหรับนับแต่สมัยโบราณได้อาศัยดวงจันทร์ในการกำหนดปฏิทินของตน (ด้วยการดูจันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดการเริ่มเดือนใหม่) ปฏิทินของชาวอาหรับจึงเป็นแบบจันทรคติ (Lunation) ในขณะที่ปฏิทินสากลที่นิยมกันเป็นแบบสุริยคติ (Calender)? จำนวนเดือนของชาวอาหรับมี 12 เดือน และกำหนดชื่อเดือนจากสภาพภูมิอากาศ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวอาหรับในยุคโบราณ ซึ่งมักจะสอดคล้องกับช่วงเวลาในการตั้งชื่อเดือนในจำนวนสิบสองเดือนนั้น
        มีอยู่สี่เดือนด้วยกันที่มีลักษณะพิเศษ เรียกขานกันว่าบรรดาเดือนต้องห้าม อันได้แก่ เดือนซุ้ลเกาะอ์ดะห์ , ซุ้ลฮิจยะห์ , อัลมุฮัรรอม เดือนทั้งสามนี้มีช่วงเวลาต่อเนื่องกัน และเดือนที่สี่คือ เดือนร่อญับ ซึ่งเว้นช่วงเป็นเอกเทศ ในช่วงเดือนทั้งสี่นี้ถือเป็นช่วงเวลาปลอดสงครามและการรุกรานในระหว่างชน ชาติอาหรับด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อบัญญัติที่เป็นมรดกตกทอดในการจัดระเบียบสังคม นับจากยุคของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.ล.) และท่านศาสดาอิสมาอีล (อ.ล.) และรายชื่อของแต่ละเดือนที่ชาวอาหรับเรียกขานในภาษาตน เรียงตามลำดับได้แก่
        1. เดือนอัลมุฮัรรอม (اَلْمُحَرَّمُ) ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า ?เดือนที่ถูกต้องห้าม? สิ่งที่ถูกต้องห้ามในเดือนนี้ คือ การทำสงคราม ตลอดจนการละเมิดในชีวิตทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย การปล้นสะดมภ์ เป็นต้น เดือนนี้มีช่วงเวลาการติดต่อกับเดือนแห่งการประกอบพิธีฮัจญ์ (เดือนซุ้ลฮิจญะห์) ดังนั้นเมื่อเสร็จสิ้นพิธีฮัจญ์ในเดือนซุ้ลฮิจญะห์แล้ว ชาวอาหรับจากทุกสารทิศที่มุ่งมาประกอบพิธีฮัจญ์ ก็จำต้องอาศัยช่วงเวลาในเดือนมุฮัรรอมเพื่อเดินทางกลับสู่มาตุภูมิของตนโดย ได้รับความปลอดภัยจากการคุกคามในทุกรูปแบบตามเส้นทางขากลับ ทั้งนี้เดือนอัลมุฮัรรอมนับเป็นเดือนลำดับที่ 1 ของปฏิทินอาหรับ ? อิสลาม อยู่ระหว่างเดือนซุ้ลฮิจญะห์กับเดือนซอฟัร
        2. เดือนซอฟัร (صَفَر) เป็นเดือนลำดับที่สองของปฏิทินอาหรับทางจันทรคติ อยู่ระหว่างเดือนอัลมุฮัรรอมกับเดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล เหตุที่มีชื่อเรียกเช่นนี้เพราะมีรากศัพท์เดิมว่า "ว่างเปล่า" , "ปราศจาก" ทั้งนี้คำว่า อัซซอฟรุ่ , อัซซุฟรุ , อัซซิฟรุ มีความหมายว่า "ไม่มีสิ่งใดอยู่เลย" หรือ "ศูนย์" นั่นเอง บ้างก็แปลว่า "หิวโหย" หรือ "ความหิว"  ชาวอาหรับมักจะกล่าวว่า อัซซ่อฟารอนี่ (الصَّفَرَانِ) ซึ่งหมายถึงเดือนอัลมุฮัรรอมและเดือนซ่อฟัร บ้างก็กล่าวว่า ถ้าหากชาวนครมักกะห์เดินทางในช่วงเดือนนี้ นครมักกะห์ก็จะร้างผู้คนหรือแทบจะหาคนอาศัยในมักกะห์ไม่ได้เลย เพราะชาวมักกะห์โดยส่วนใหญ่จะออกเดินทางไปยังเขตปริมณฑลนอกนครมักกะห์ บ้างก็อธิบายว่าชาวอาหรับที่ถูกรุกรานและปล้นสะดมภ์ เรียกว่าริบทุกอย่างจนไม่มีเหลือ
        3. เดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล (رَبِيْعُ الأَوَّل) เป็นเดือนลำดับที่สาม เหตุที่เรียกชื่อเช่นนี้เป็นไปได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับฤดูกาลแรกที่ต้นไม้ใบหญ้าผลิใบเต็มท้องทุ่งที่ใช้ใน การเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้เพราะคำว่า ร่อบีอุนฺ (رَبِيْعٌ) มีรากศัพท์ที่หมายถึง อุดมสมบูรณ์ , เขียวชอุ่ม และชาวอาหรับซึ่งนิยมเลี้ยงอูฐและปศุสัตว์ชนิดอื่นๆ มักจะนำเอาสัตว์ออกไปยังทุ่งหญ้าในช่วงเวลาของเดือนนี้ เมื่อสมัยโบราณที่มีการตั้งชื่อเดือน
        4. เดือนร่อบีอุ้ลอาคิร (رَبِيْعُ الآخِر) หรือ ร่อบีอุซซานีย์ (رَبيْعُ الثَّانِيْ) เป็นเดือนอาหรับลำดับที่ 4 เหตุที่มีชื่อเรียกเช่นนี้ ก็คงเป็นเพราะเป็นช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ อันอุดมสมบูรณ์ต่อเนื่องจากเดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล ซึ่งจะมีฝนตกชุกมากกว่าเดือนอื่นๆ
        5. เดือนญุมาดา อัลอูดา (جُمَادٰىالأُوْلى) เดือนลำดับที่ 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติในครั้งโบราณ เมื่อแรกตั้งชื่อเดือนนั้น ตรงกับช่วงเวลาที่สภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง กันดาร และร้อนจัด จนกระทั่งแหล่งน้ำที่ได้จากตาน้ำนั้นเหือดแห้ง ฝูงอูฐและปศุสัตว์ที่ให้น้ำนมนั้นก็จะมีอาการอืดอาด ยืดยาด เพราะขาดน้ำ น้ำนมที่ได้จากสัตว์ เช่นอูฐ เป็นต้น ก็พาลหายากไปด้วย เพราะสัตว์ไม่มีน้ำนม ฝนฟ้าก็ขาดช่วง
        6. เดือนญุมาดา อัลอาคิเราะห์ (جُمَادٰىالآخِرة) เป็นเดือนลำดับที่ 6 อยู่ระหว่างเดือนญุมาดา อัลอูลา และเดือนร่อญับ เหตุที่มีชื่อเรียกเช่นนี้ก็คงเพราะยังอยู่ในช่วงฤดูร้อนจัดที่แห้งแล้ง และน้ำที่ใช้ดื่มกินและเลี้ยงปศุสัตว์หายากเต็มที เนื่องจากฝนขาดช่วงมาตั้งแต่เดือนก่อนหน้านี้ ตาน้ำก็แห้งขอดเหมือนตาที่ไร้น้ำตาจะไหลริน ว่ากันอย่างนั้น
        7. เดือนร่อญับ (رَجَب) เป็นเดือนลำดับที่ 7 ตามปฏิทินทางจันทรคติของชาวอาหรับ อยู่ระหว่างเดือนญุมาดา อัลอาคิเราะห์ กับเดือนชะอ์บาน คำว่า ร่อญับ มีรากศัพท์ในภาษาอาหรับที่หมายถึง ละอาย , เกรงกลัว , ครั่นคร้าม ชาวอาหรับเรียกเดือนนี้ว่า ร่อญับ เพราะยกย่องและให้ความสำคัญต่อเดือนนี้เป็นอันมาก นับแต่ยุคอัลญาฮีลียะห์ (ยุคก่อนอิสลามอันเป็นยุคแห่งอวิชชา) และถือว่าเดือนนี้เป็นหนึ่งในสี่เดือนต้องห้ามที่แยกเป็นเอกเทศ เมื่อชาวอาหรับเรียกเดือนนี้ว่า อัรร่อญะบานี (اَلرَّجَبَانِ)
        เดือนร่อญับทั้งสอง ก็หมายถึง เดือนร่อญับกับเดือนชะอ์บานที่ถัดมา ในเดือนร่อญับนี้ ชาวอาหรับมักจะหาไม้หรือนั่งร้านมาค้ำยันต้นอินทผลัม เพราะลำต้นของมันจะอ่อนแอ และโยกคลอนเพราะขาดน้ำในช่วงเดือนก่อนหน้านี้ ชาวอาหรับมีสุภาษิตอยู่ประโยคหนึ่งว่า "อิช ร่อญ่าบัน ต้ารอ อะญะบัน  (عِشْ رَجَبًاتَرَعَجَبًا)" ซึ่งแปลได้ว่า "จงมีชีวิตอยู่ในช่วงเดือนร่อญับ ท่านก็จักประจักษ์ความแปลกประหลาดอันชวนพิศวง"  หรือในอีกสำนวนหนึ่งแบบขาโจ๋ว่า "อยู่ให้ถึงร่อญับ ก็จักได้เห็นดี (แบบคาดไม่ถึงทีเดียวเชียว)"
        8. เดือนชะอ์บาน (شَعْبَانُ) เดือนลำดับที่ 8 ตามปฏิทินจันทรคติ กล่าวกันว่าแรกเริ่มเดิมทีเมื่อตอนตั้งชื่อเดือนนั้น ชาวอาหรับจะพากันออกจากเผ่าเพื่อแยกย้ายกันออกค้นหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการ ดื่มกินและเลี้ยงสัตว์ หลังจากที่ต้องทนลำบากกับช่วงฤดูร้อนที่ขาดแคลนน้ำ และต้องระวังรักษาตัวให้ห่างไกลจากความผิดใดๆ อันจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนร่อญับซึ่งเป็นเดือนต้องห้าม คำว่า ชะอ์บาน มีรากศัพท์ในภาษาอาหรับซึ่งหมายถึง "การกระจาย" , แยกย้าย การส่งคนออกไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง และการห่างไกลจากเพื่อนฝูง
        9. เดือนร่อมาฎอน (رَمَضَانُ) เดือนลำดับที่ 9 ตามปฏิทินจันทรคติของชาวอาหรับ อันเป็นเดือนสำคัญสำหรับชาวมุสลิมในการประกอบศาสนกิจประการที่ 4 จากมุขบัญญัติทั้ง 5 ประการ นั่นคือ การถือศีลอด (อัซซิยาม , อัเซาวมฺ) ชาวมุสลิมในบ้านเรา (สยามไงล่ะ) นิยมเรียกกันว่า "เดือนบวช" ซึ่งเป็นการเรียกแบบอนุโลมตามจารีตของภาษาที่ชาวมุสลิมบ้านเรารู้กัน มิได้หมายมุ่งจะเอาความหมายตามพจนานุกรมภาษาไทยแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะคำว่า บวช เป็นกริยา หมายถึง ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่นๆ ในคำสอนของอิสลามไม่มีเพศของภิกษุหรือนักพรตอย่างในศาสนาอื่น แต่คงอนุโลมใช้ตามนัยยะที่บ่งว่า บวช นั้นหมายความกว้างๆ ถึงการสำรวมในอินทรีย์ (กาย , วาจา , ใจ) งดรับประทานอาหาร และการร่วมประเวณีกับภรรยาของตน ตามช่วงกำหนดเวลาที่แน่นอน กล่าวคือนับแต่แสงอรุณจริงขึ้นเรื่อยไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าโดยมี เจตนาที่แน่นอน
        ซึ่งมองดูภาพในลักษณะที่ปรากฏจากการบวชของชาวมุสลิมในช่วงเดือนร่อมาฎอน แล้วก็เคร่งครัดไม่แพ้ผู้ถือเพศบรรพชิตทั้งหลาย เพียงแต่มุสลิมมิใช่บรรพชิตหรือนักบวชอย่างคนในศาสนาอื่นเท่านั้น สำหรับเหตุที่เรียกชื่อเดือนลำดับที่ 9 ตามปฏิทินของชาวอาหรับว่า "ร่อมาฎอน" นั้น กล่าวกันว่า เป็นเพราะเมื่อแรกตั้งชื่อเดือนนี้นั้นพอดีตรงกับช่วงเวลาที่อากาศของเมือง อาหรับร้อนจัดเป็นที่สุด (ร้อนหูฉี่) ทั้งนี้รากศัพท์ของคำว่า "ร่อมาฎอน" มีความหมาย "ร้อนจัด" (อัรร่อมัฎ - اَلرَّمَضُ) หรือ "ร้อนจนเกือบลุกเป็นไฟ" และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลานั้นกระทำองศากับพื้นทรายในท้องทะเลทรายแบบจังๆ บ้างก็กล่าวว่ามีรากศัพท์มาจาก อัรรอมฎออฺ (اَلرَّمْضَاءُ) ซึ่งหมายถึงความรุนแรงของความร้อน (ร้อนจัดนั่นแหละ) บ้างก็บอกว่า เดือนนี้ซึ่งผู้คนทำการถือศีลอด และขะมักเขม้นประกอบคุณงามความดีจะเผาผลาญกิเลสและความชั่วทั้งปวง
        10. เดือนเชาว๊าล (شَوَّال) เดือนลำดับที่ 10 ตามปฏิทินทางจันทรคติของชาวอาหรับ อยู่ระหว่างเดือนร่อมาฎอนกับเดือนซุ้ลเกาะดะห์ว่ากันว่าเหตุที่ชาวอาหรับ ตั้งชื่อเดือนนี้ว่า "เชาว๊าล" ก็เพราะอูฐตัวเมียจะยกหางของมันชี้เด่ในเดือนนี้  ในภาษาอาหรับเรียกอูฐตัวเมียว่า อันนาเกาะห์ (اَلنَّاقَةُ) เพราะรูปทรงของนางอูฐนั้นสูงชะลูดและมักจะว่านอนสอนง่ายฝึกฝนให้เชื่องไม่ ลำบากนัก ซึ่งผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ว่าด้วยเพราะเหตุอันใด พอเวลาเข้าเดือน "เชาว๊าล" ทีไร คุณนางอูฐเธอถึงต้องกระดกหาง บางทีอาจจะเป็นการส่งสัญญาณให้ประดาอูฐหนุ่มได้กระชุ่มกระชวยในเรื่องอย่าง ว่าก็เป็นได้
        11. เดือนซุ้ลเกาะอ์ดะห์ (ذُوالقَعْد) หรือ ซุ้ลกิอฺดะห์ (ذُوْالقِعْدَةِ) เดือนลำดับที่ 11 ตามปฏิทินทางจันทรคติของชาวอาหรับ อยู่ระหว่างเดือนเชาว๊าลกับเดือนซุ้ลฮิจญะห์ คำว่า อัลเกาะอ์ดะห์ (اَلقَعْدَةُ) ใส่สระ ฟัตฮะห์ที่อักษรก๊อฟ หมายถึง "นั่งหนึ่งครั้ง" หรือเสื่อที่ปูนั่ง ส่วนคำว่า อัลกิอฺดะห์ (اَلقِعْدَةُ) - ใส่สระกัซเราะห์ที่อักษรก๊อฟ  หมายถึง ขนาดพื้นที่ซึ่งผู้นั่งกินพื้นที่เวลานั่ง แต่ถ้าอ่านว่า อัลกุอดะห์ (اَلقُعْدَةُ) ใส่สระฎอมมะห์ที่อักษรก๊อฟ จะหมายถึงสัตว์พาหนะที่ผู้เลี้ยงใช้ขี่ทำธุระ
        เหตุที่เรียกเดือนนี้ว่า ซุ้ลเกาะอ์ดะห์ หรือ ซุลกิอฺดะห์ (เรียกได้ทั้งสองชื่อนั่นแหละ บ่ผิดดอก) ก็เพราะว่าชาวอาหรับจะนั่งจับเจ่า (คงจะหมายถึง ระงับ ละเลิก) จากเรื่องไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรุกรานเผ่าอื่น การพิพาท การปล้นสะดมภ์ ตลอดจนการออกเสาะแสวงหาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้เดือนซุ้ลเกาะอ์ดะห์ นับเป็นหนึ่งในสี่ของเดือนต้องห้าม (อัลอัชฮุรุ้ล ฮุรุม) และในช่วงเวลาการประกอบพิธีฮัจญ์ในเดือนถัดมา (ซุ้ลฮิจญะห์) ฉะนั้นจึงต้องมีช่วงเวลาที่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสำหรับผู้ที่เดินทาง สู่นครมักกะห์ตามเส้นทางสู่ประกอบการพิธี "ฮัจญ์"
        12. เดือนซุ้ลฮิจญะห์ (ذُوالحِْجَّةِ) เดือนสุดท้ายลำดับที่ 12 ตามปฏิทินทางจันทรคติของชาวอาหรับ อยู่ระหว่างเดือนซุ้ลเกาะอ์ดะห์กับเดือนมุฮัรรอม เหตุที่เรียกเดือนนี้ว่า ซุ้ลฮิจญะห์  (ذُوالحِْجَّةِ)  ก็เพราะว่าเป็นช่วงฤดูฮัจญ์ที่ชาวอาหรับจากทุกสารทิศจะเดินทางมุ่งสู่นครมัก กะห์เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ คำว่า อัลฮัจญ์ (اَلْحَجُّ) หมายถึง การเยี่ยมเยียน เช่น เยี่ยมเยียนสถานที่สำคัญ ส่วนคำว่าอัลฮิจญะห์ (اَلْحِجَّةُ)  หมายถึง "ปี" เพราะการประกอบพิธีฮัจญ์ จะถูกกระทำตามศาสนบัญญัติในทุกๆ ปี ชาวอาหรับบางทีก็นับจำนวนปีโดยอาศัยการประกอบพิธีฮัจญ์ เช่น อาศัยอยู่ในนครมักกะห์ มา 3 ฮัจญ์แล้ว เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา :
อัลมุนญิด ฟิล ลิเฆาะฮ์ วัลอะอ์ลาม ดารุ้ลมัชริก ปี ค.ศ. 1988
ตัฟซีร อายาต อัลอะห์กามฺ (ร่อวาอิอุ้ล บะยาน) มูฮัมมัด อะลี อัซซอบูนีย์
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525

عَلاَمَاتُ اْلإِسْمِ : เครื่องหมายของคำนาม

คำนามในภาษาอาหรับนั้น ท่านสามารถจะทราบและมองออกจากการสังเกต “เครื่องหมายเฉพาะ” ของมันดังที่จะอธิบายต่อไป แม้ว่าท่านอาจจะไม่รู้ความหมายของมันก็ตาม
เครื่องหมาย (عَلاَمَةٌ) ที่จะรู้จักคำนามมีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้ จะอธิบายเฉพาะเครื่องหมายที่สำคัญ 4 ประการ คือ อลีฟลาม, ตันวีน, หุรูฟญัรฺ และการอ่านแบบญัรฺ ต่อไปนี้คือคำอธิบายลักษณะเครื่องหมายแต่ละอย่างดังต่อไปนี้
ก. اَلْ (อะลีฟ ลาม)
اَلْเป็นพยัญชนะ 2 ตัวที่ติดรวมอยู่ ด้านหน้าของคำนาม
ตามปกติ اَلْ ในทางภาษาจะมีความหมายหลายนัย แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้ اَلْ บ่งบอก “ตัวตนที่ชัดเจน” ของคำนามที่มันนำหน้า ซึ่งโดยนัยนี้ความหมายของ اَلْ ในภาษาอาหรับก็จะตรงกับคำว่า The ในภาษาอังกฤษนั่นเอง โปรดดูตัวอย่างการเปรียบเทียบคำนามภาษาอาหรับที่มี اَلْ นำหน้า และคำนามภาษาอังกฤษที่มี The นำหน้า ตลอดจนความหมายของมันดังต่อไปนี้...

ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ คำแปล
1. اَلرَّجُلُ The man ผู้ชายคนนั้น
2. اَلطَّائِرُ The bird นกตัวนั้น
3. اَلْمَدِيْنَةُ The town เมืองใหญ่นั้น
4. اَلتِّمْسَاحُ The crocodile จระเข้ตัวนั้น
5. اَلْكُرَةُ The ball ลูกบอลลูกนั้น
คำนามต่างๆที่มี اَلْ นำหน้าตามตัวอย่างข้างบนนี้ จะบ่งบอกความหมายของตัวตนที่ชัดเจน ดังที่ได้เน้นตัวหนาและขีดเส้นใต้ไว้นั้น แต่ถ้าท่านตัด اَلْ ในภาษาอาหรับ(หรือ The ในภาษาอังกฤษ) ออกไป ความหมายของคำนามข้างต้นก็จะไม่เน้นตัวตนที่ชัดเจน แต่จะเปลี่ยนเป็นบ่งบอกเป็นความหมายกว้างๆแทน
ซึ่งจากตัวอย่างคำนามทั้ง 5 คำนั้น หากตัด اَلْ ออกไป ก็จะเหลือดังนี้
رَجُلٌ แปลว่า ผู้ชายคนหนึ่ง (คือ จะเป็นใครก็ได้ที่มีอวัยวะเพศเพศชาย),
طَائِرٌ แปลว่า นกตัวหนึ่ง (จะเป็นนกตัวไหนก็ได้),
مَدِيْنَةٌ แปลว่า เมืองใหญ่เมืองหนึ่ง,
تِمْسَاحٌ แปลว่า จระเข้ตัวหนึ่ง,
كُرَةٌ แปลว่า ลูกบอลลูกหนึ่ง เป็นต้น
สรุปแล้ว คำทุกคำในภาษาอาหรับ หากมี اَلْ อยู่ข้างหน้า ถือว่า คำนั้นๆ เป็นคำนามทั้งสิ้น

ข. تَنْوِيْنٌ (สระคู่หรือสระซ้อน)
คำว่า ตันวีน (تَنْوِيْنٌ) ตามความเข้าใจทั่วๆไป หมายถึง “สระคู่” หรือ “สระซ้อน” ซึ่งถูกเขียนไว้ที่ “พยัญชนะตัวสุดท้าย” ของคำนามที่ไม่มี اَلْ
ทั้งนี้ เพราะ اَلْ และ تَنْوِيْنٌ จะอยู่รวมกันในคำๆเดียวกันไม่ได้
อย่างเช่นคำว่า الَمَدْرَسَةُ (โรงเรียนหลังหนึ่ง) ท่านจะอ่านหรือเขียนว่า اَلْمَدْرَسَةٌ (โดยใส่สระซ้อนที่ตัว ة)ไม่ได้
ตันวีน (تَنْوِيْنٌ) ถือเป็นเครื่องหมายเฉพาะของคำนาม (إِسْمٌ) เช่นเดียวกับ اَلْ
หมายความว่า คำใดมีตันวีนอยู่ที่พยัญชนะตัวสุดท้ายของมัน คำนั้นจะต้องเป็นคำนาม (إِسْمٌ) เสมอ
สระคู่หรือสระซ้อนดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสระ ضَمَّةٌ ซ้อนคือ (-ٌ--), หรือสระ فَتْحَةٌ ซ้อนคือ (-ً--), หรือสระ كَسْرَةٌ ซ้อนคือ (-ٍ--) เรียกว่า ตันวีน ทั้งสิ้น
และอย่างที่ได้อธิบายผ่านมาแล้วว่า คำนามอิสระ-- คือยังไม่ได้เป็นส่วนประกอบของประโยคใดๆ -- พยัญชนะตัวสุดท้ายของมันจะใส่สระอะไรก็ได้ โดยความหมายจะไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ตัวอย่างคำนามที่มี ตันวีน ของสระทั้งสามเป็นเครื่องหมาย
فُنْدُقٌ, فُنْدُقًا, فُنْدُقٍ : แปลว่า โรงแรมหลังหนึ่ง
إِمْرَأَةٌ, إِمْرَأَةً, إِمْرَأَةٍ : แปลว่า สตรีผู้หนึ่ง
مُهَنْدِسٌ, مُهَنْدِسًا, مُهَنْدِسٍ : แปลว่า วิศวกรคนหนึ่ง
رَطَانَةٌ, رَطَانَةً, رَطَانَةٍ : แปลว่า อูฐฝูงหนึ่ง
غَنِىٌّ, غَنِيًّا, غَنِىٍّ : แปลว่า เศรษฐีคนหนึ่ง
หมายเหตุ
สิ่งที่ท่านจะต้องรับรู้ ณ ที่นี้ก็คือ ข้อเท็จจริงของคำว่า تَنْوِيْنٌ ไม่ได้หมายถึงสระคู่หรือสระซ้อน ดังที่ได้อธิบายมาตั้งแต่ต้น แต่ที่ได้อธิบายไปอย่างนั้น ก็เพื่อความสะดวกต่อการเข้าใจในขั้นต้นเท่านั้น
ทว่าความหมายจริงๆของ تَنْوِيْنٌ ก็คือ نُوْنٌ سَاكِنَةٌ (นูนตาย, นูนที่เป็นตัวสะกด) ซึ่งอยู่ที่ท้ายคำ และเป็นเสียงอ่านของสระซ้อนเหล่านั้น
ส่วนสระคู่หรือสระซ้อน ถือเป็นเพียง “สัญลักษณ์” หรือ “เครื่องหมาย” แทนค่า تَنْوِيْنٌ อีกทีหนึ่ง
ให้ท่านสังเกตตัวอย่างของตันวีน (นูนตาย) ซึ่งจะปรากฏเป็นเสียงอ่าน, และให้สังเกต “สัญลักษณ์ ของตันวีน (คือสระคู่หรือสระซ้อน) ซึ่งปรากฏเป็นตัวเขียนดังต่อไปนี้
สัญลักษณ์ของตันวีน (สระคู่) ในการเขียน ตันวีน (นูนตาย) ตามเสียงอ่าน
فِلْفِلٌ (แปลว่า พริกไทย) فِلْفِلُنْ (อ่านว่า ฟิลฟิลุ่)
دُبٌّ(แปลว่า หมี دُبُّنْ (อ่านว่า ดุบบุ้)
سُلَحْفَاةٌ (แปลว่า เต่า) سُلَحْفَاتُنْ (อ่านว่า สุละฮ์ฟาตุ้)
بِحَارٌ(แปลว่า มหาสมุทร) بِحَارُنْ (อ่านว่า บิหารุ่)
مُرْقِدٌ(แปลว่า สิ่งที่ทำให้หลับ, ยานอนหลับ) مُرْقِدُنْ (อ่านว่า มุรฺกิดุ้) สรุปแล้ว “สระคู่” ไม่ว่าจะเป็นสระในรูปแบบใด จึงมิใช่เป็น “ตัวตน” ที่แท้จริงของตันวีน ดังความเข้าใจโดยผิวเผินทั่วไป, แต่มันเป็นเพียง “สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนค่าตันวีน” – คือนูนตาย -- เท่านั้น
จะอย่างไรก็ตาม เพื่อมิให้เกิดความสับสนและเพื่อความสะดวกในการเรียน ในชั้นนี้จึงอนุโลมให้ถือว่า “ตันวีน ก็คือ “สระคู่” ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น

ค. حُرُوْفُ الْجَرِّ (หุรูฟญัรฺ)
คำว่า حُرُوْفُ الْجَرِّ เป็นพหูพจน์ของคำว่า حَرْفُ الْجَرِّ ที่ได้เคยกล่าวถึงมาแล้วในตอนต้น
ท่านอาจจะสงสัยว่า หุรูฟญัรฺ (حَرْفُ الْجَرِّ) คืออะไร ?
حَرْفُ الْجَرِّ ก็คือ คำบางคำ, หรือพยัญชนะบางตัวซึ่งมีสระกำกับอยู่จนมีความหมาย .. ดังจะได้อธิบายต่อไป
ถ้าท่านเคยศึกษาไวยากรณ์ไทยหรือไวยากรณ์อังกฤษมาแล้ว ก็จะทราบได้ทันทีว่า ความหมายโดยทั่วๆไปของ “หุรุฟญัรฺ” ในภาษาอาหรับ จะตรงกับ “คำบุพบท” ในวิชาไวยากรณ์ไทย หรือคำ Preposition ในวิชาไวยากรณ์อังกฤษนั่นเอง
กฎเกณฑ์ที่ท่านจะต้องจดจำให้ขึ้นใจในที่นี้ก็คือ حَرْفُ الْجَرِّ เป็นเครื่องหมายที่ใช้นำหน้าเฉพาะคำนามเท่านั้น, และจะทำหน้าที่บังคับคำนามข้างหลังให้ต้องอ่านแบบ جَرٌّ (ญัรฺ) เสมอ
การอ่านแบบญัรฺ ก็คือ อ่านด้วยสระกัสเราะฮ์ (สระอี) ที่พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำนาม
นอกจาก “สระกัสเราะฮ์” ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายหลัก แล้ว การอ่านแบบญัรฺ ยังมี เครื่องหมายรอง อีก 2 อย่าง .. ดังจะได้อธิบายต่อไป
การอ่านแบบญัรฺนี้ จะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อ่านแบบ ค็อฟฎ์ (خَفْضٌ)
หากท่านอยากรู้ว่า หุรูฟญัรฺที่นำหน้าคำนามได้นั้น มีกี่ตัว ?
คำตอบก็คือ حُرُوْفُ الْجَرِّ มีทั้งหมด 20 ตัวด้วยกัน แต่ที่มักจะเจอบ่อยในตำราภาษาอาหรับและจะแนะนำให้รู้จักในขั้นต้นนี้มี 8 ตัว คือ
1. مِنْ (แปลว่า จาก, ซึ่งบ่งบอกถึงจุดเริ่มต้นการกระทำ)
2. إِلَى (แปลว่า ไปถึง, ไปยัง, ไปสู่ .. หมายถึงจุดสิ้นสุดการกระทำ)
ตัวอย่างเช่น
ประโยคว่า ذَهَبَ الْمُعَلِّمُ مِنَ الْمَنْزِلِ إِلَى الْجَامِعَةِ : แปลว่า อาจารย์ท่านนั้นไป จาก บ้านพัก สู่ มหาวิทยาลัย
จากตัวอย่างข้างต้น คำว่า اَلْمُعَلِّمُ (ครู, อาจารย์), และคำว่า اَلْمَنْزِلِ (ที่พัก, บ้าน)และคำว่า اَلْجَامِعَةِ (มหาวิทยาลัย) ล้วนเป็นคำนาม เพราะทั้ง 3 คำนั้น ต่างมี اَلْ (อลีฟลาม) ซึ่งเป็นเครื่องหมายของคำนามดังกล่าวมาแล้วข้างต้น กำกับอยู่ข้างหน้า
นอกจาก اَلْ แล้ว สองคำหลังคือ คำว่า اَلْمَنْزِلِ และ اَلْجَامِعَةِ ยังมีหุรูฟญัรฺ คือ مِنْ และ اِلَى กำกับอยู่ข้างหน้าด้วยอีกต่างหาก
และเมื่อทั้ง 2 คำนี้มีหุรูฟญัรฺกำกับอยู่ข้างหน้า มันก็จะต้อง อ่านแบบญัรฺ --- คือ อ่านด้วยสระกัสเราะฮ์หรือสระอี --- ที่ตัว لِ และตัว ةِ ซึ่งเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของแต่ละคำเท่านั้น, จะอ่านมันด้วยสระอู (ضَمَّةٌ) หรือสระอา (فَتْحَةٌ) ในกรณีนี้ไม่ได้ทั้งสิ้น
3. عَنْ (แปลว่า จาก, หมายถึงแยกจาก, พรากจาก, ห่างจาก, หลุดออกจาก, ตายจาก เป็นต้น)
ตัวอย่างเช่น
การพูดว่า مَاتَ إِبْرَاهِيْمُ عَنْ أَهْلِهِ : แปลว่า นายอิบรอฮีมได้ตายจากลูกเมียของเขาแล้ว
หรือพูดว่า رَمَيْتُ السَّهْمَ عَنِ الْقَوْسِ : แปลว่า ฉันยิงลูกธนู (หลุด) ออกจากคันธนู เป็นต้น
คำว่า أَهْلِهِ (ลูกเมีย, ครอบครัว) และคำว่า اَلْقَوْسِ (คันธนู) เป็นคำนาม เพราะอยู่หลังจากหุรุฟญัรฺ คือ عَنْ, .. และทั้ง 2 คำนั้นต้องอ่านแบบญัรฺ – คืออ่านด้วยสระกัสเราะฮ์ที่ตัวสุดท้าย -- เช่นเดียวกัน
4. عَلَى (แปลว่า บน, ข้างบน, ด้านบน)
ตัวอย่างเช่น
การพูดว่า وَضَعْتُ الْكِتَابَ عَلَى الْمَكْتَبِ : แปลว่า ฉันวางหนังสือเล่มนั้นไว้บนโต๊ะเขียนหนังสือ
คำว่า اَلْمَكْتَبِ (โต๊ะเขียนหนังสือ) เป็นคำนามและอ่านแบบญัรฺ เพราะอยู่หลังจากหุรูฟญัรฺ คือ عَلَى
5. فِىْ (แปลว่า อยู่ใน, ข้างใน)
ตัวอย่างเช่น
การพูดว่า اَلْمَاءُ فِى اْلإِبْرِيْقِ : แปลว่า น้ำอยู่ใน คนโท
หรือพูดว่า اَلْيَمَامَةُ فِى الْقَفَصِ : แปลว่า นกเขา อยู่ใน กรง
คำว่า اَلإِبْرِيْقِ (คนโท, เหยือกน้ำ) และคำว่า اَلْقَفَصِ (กรงนก) เป็นคำนามและอ่านแบบญัรฺ เพราะอยู่หลังจากหุรูฟญัรฺ คือ فِىْ
6. بِ (แปลว่า ด้วย, โดย)
ตัวอย่างเช่น
การพูดว่า رَسَمَتْ خَدِيْجَةُ بِالْمِرْسَمَةِ : แปลว่า คอดีญะฮ์วาด (ภาพ) ด้วย ดินสอ
หรือพูดว่า لِتَذْهَبْ بِسَلاَمٍ : แปลว่า ขอให้คุณเดินทาง โดย สวัสดิภาพ
คำว่า اَلْمِرْسَمَةِ (ดินสอ) และคำว่า سَلاَمٍ (ปลอดภัย, สวัสดิภาพ) เป็นคำนาม และอ่านแบบญัรฺทั้ง 2 คำ เพราะอยู่หลังจากหุรูฟญัรฺ คือ بِ
7. كَ (แปลว่า เหมือน, คล้าย, เสมือน .. อันเป็นคำเปรียบเทียบความคล้ายคลึงของสิ่งสองสิ่ง)
ตัวอย่างเช่น
การพูดว่า وَجْهُهَا مُضِيْئَةٌ كَالْبَدْرِ : แปลว่า หน้าของหล่อน ผ่องใสเหมือนจันทร์เพ็ญ
หรือพูดว่า خَالِدٌ شُجَاعٌ كَالنَّمِرِ แปลว่า คอลิด กล้าหาญเหมือนเสือโคร่ง
คำว่า اَلْبَدْرِ (จันทร์เพ็ญ) และคำว่า اَلنَّمِرِ (เสือโคร่ง) เป็นคำนามและอ่านแบบญัรฺ เพราะอยู่หลังจากหุรูฟญัรฺ คือ كَ
8. لِ (แปลว่า เพื่อ, แก่, ให้แก่, เป็นกรรมสิทธิ์ของ, เป็นสิทธิของ, เนื่องจาก เป็นต้น)

ตัวอย่างเช่น
การพูดว่า فَعَلْتُ كَذَا لِلْوَطَنِ : แปลว่า ฉันทำอย่างนี้ เพื่อบ้านเกิดเมืองนอน
หรือพูดว่า كُلُّ شَئْ ٍفِى هَذَاالْبَيْتِ لِمُحَمَّدٍ : แปลว่า ทุกอย่างในบ้านหลังนี้ เป็นกรรมสิทธิ์ ของมุหัมมัด
หรือพูดว่า هَذَااْلاِصْطَبْلُ لِلْبَقَرِ : แปลว่า คอกนี้ เป็น (สิทธิ) ของวัว เป็นต้น
คำว่า اَلْوَطَنِ (บ้านเกิดเมืองนอน), คำว่า مُحَمَّدٍ (มุหัมมัด) และคำว่า اَلْبَقَرِ (วัว) ล้วนเป็นคำนาม และอ่านแบบญัรฺทั้งสิ้น เพราะอยู่หลังจากหุรูฟญัรฺ คือ لِ

หมายเหตุ
ลาม لِ ที่เป็นหุรูฟญัรฺนี้ จะอ่านได้ 2 ลักษณะคือ
1. อ่านด้วย สระกัสเราะฮ์ (สระอิ คืออ่านว่า لِ)
การอ่านด้วยสระกัสเราะฮ์ดังกล่าวจะมีใน 2 กรณี คือ
ก. คำนามข้างหลังลาม เป็น คำนามธรรมดาทั่วๆไป ( ภาษาอาหรับเรียกว่า إِسْمٌ ظَاهِرٌ) ดังตัวอย่างคำว่า لِلْوَطْنِ، لِمُحَمَّدٍ، لِلْبَقَرِ ที่ผ่านมาข้างต้น
ข. คำนามด้านหลังลาม เป็นตัว ىْ (แปลว่า ของฉัน, ของผม, ของข้าพเจ้า, ของดิฉัน, ของกู) อันเป็น สรรพนามของบุรุษที่หนึ่ง (ผู้พูด) คนเดียว (ภาษาอาหรับเรียกว่า ضَمِيْرٌ لِلْمُتَكَلِّمِ وَحْدَهُ)
ตัวอย่างเช่น การพูดว่า هَذِهِ النُّقُوْدُ لِىْ : แปลว่า ธนบัตร (เงิน) เหล่านี้ เป็น ของฉัน
ตัว ل ซึ่งเป็นหุรูฟญัรฺดังกรณีข้างต้น ให้อ่านด้วยสระกัสเราะฮ์ ดังที่เห็นนั้น
2. อ่านด้วยสระฟัตหะฮ์ (สระอา คืออ่านว่า لَ)
การอ่านดังกล่าว จะใช้ในกรณีคำข้างหลังจากลามหุรูฟญัรฺ เป็นคำสรรพนาม ของบุรุษที่หนึ่งหลายคน (คือคำว่า نَا ในภาษาอาหรับซึ่งตรงกับคำว่า เรา ในภาษาไทย, และไวยากรณ์อาหรับจะเรียกสรรพนามนี้ว่า ضَمِيْرُالْمُتَكَلِّمِ مَعَ الْغَيْرِ) หรือเป็นสรรพนามของบุรุษที่สอง (คู่สนทนา เช่นคำว่า คุณ, เธอ, มึง, เอ็ง เป็นต้น ภาษาอาหรับเรียก مُخَاطَبٌ) หรือเป็นสรรพนามของบุรุษที่สาม (ผู้ที่ถูกกล่าวถึง เช่นคำว่า เขา, พวกเขา, หล่อน, มัน เป็นต้น, ภาษาอาหรับเรียกว่า غَائِبٌ)
ตัวอย่างเช่น พูดว่า لَـنَا แปลว่า สำหรับเรา, ของเรา,
หรือพูดว่า لَهُ แปลว่า สำหรับเขา, ของเขา, (หรือของมัน),
หรือพูดว่า لَهُمْ แปลว่า สำหรับพวกเขา, ของพวกเขา,
หรือพูดว่า لَهَا แปลว่า สำหรับหล่อน, ของหล่อน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ل ซึ่งเป็นหุรูฟญัรฺที่นำหน้าคำสรรพนามในตัวอย่างเหล่านี้ จะอ่านด้วยสระ فَتْحَةٌ (สระอา) ทั้งสิ้น


ง. اَلْجَرُّ (อ่านแบบญัรฺ)
เครื่องหมายคำนามที่จะแนะนำเป็นข้อสุดท้ายก็คือ การอ่านแบบญัรฺ
คำว่า اَلْجَرُّ (อ่านแบบญัรฺ) กับ حَرْفُ الْجَرِّ (หุรูฟญัรฺ) มีความหมายแตกต่างกัน
“اَلْجَرُّ” หมายถึง “การอ่านด้วยสระกัสเราะฮ์” (สระอี) – หรือเครื่องหมายรองของสระกัสเราะฮ์ ดังจะได้อธิบายต่อไป -- ที่พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำ
ส่วน “حَرْفُ الْجَرِّ” หมายถึง คำหรือพยัญชนะที่นำหน้าคำนาม และบังคับคำนามข้างหลังมันให้อ่านแบบญัรฺ
ตัวอย่างของคำนามที่อ่านแบบญัรฺ ก็คือตัวอย่างของคำนามที่อยู่หลังจากหุรูฟญัรฺที่ผ่านมาแล้วในคำอธิบายเรื่องหุรูฟญัรฺ จึงไม่ขออธิบายซ้ำ ณ ที่นี้อีก
ถ้าสังเกตให้ดีก็จะพบว่า มีคำนามจำนวนมากที่มีเครื่องหมายคำนามอยู่ในตัวเองไม่ใช่แค่เครื่องหมายเดียว แต่อาจจะเป็น 2 หรือ 3 เครื่องหมาย !
ตัวอย่างเช่น ประโยคที่ว่า اُنْظُرْ إِلَى لَبُوْءَةٍ : จงดูที่สิงโตตัวเมียตัวนั้นซิ !
คำว่า لَبُوْءَةٍ (สิงโตตัวเมีย) เป็นคำนาม, มีเครื่องหมายของคำนามอยู่ 3 ประการคือ มี إِلَى ซึ่งเป็นหุรูฟญัรฺนำหน้า, มีตันวีน คือสระซ้อนอยู่ที่ตัว ةٍ, และอ่านแบบญัรฺ คืออ่านด้วยสระกัสเราะฮ์ที่ตัว ة ซึ่งเป็นพยัญชนะตัวสุดท้าย  หรือประโยคที่ว่า نَامَ الطَّائِرُ فِى الْعُشِّ : นกตัวนั้น นอนอยู่ในรัง
คำว่า اَلطَّائِرُ เป็นคำนาม, มีเครื่องหมายคำนามจากที่กล่าวมาแล้วเพียงประการเดียวคือมี อลีฟลาม (اَلْ)
ส่วนคำว่า اَلْعُشِّ (รังนก) เป็นคำนาม, .. แต่มีเครื่องหมายของคำนามอยู่ 3 ประการคือ มี فِىْ ซึ่งเป็นหุรูฟญัรฺนำหน้า, .. มี اَلْ ข้างหน้า, .. และอ่านแบบญัรฺ คือมีสระกัสเราะฮ์ที่ตัว شِ ซึ่งเป็นพยัญชนะตัวสุดท้าย


--------------------------------
ข้อมูลจาก  : หนังสือภาษาอาหรับอย่างง่าย เล่ม 1  โดย อ. ปราโมทย์  ศรีอุทัย  รองประธานฝ่ายวิชาการชมรมมุสลิมภาคใต้ และฝ่ายวิชาการโรงเรียนอัลมูวาห์ฮิดีน


***อ่านเเล้วคอมเม้นด้านล่างด้วยครับ-- ชุกรอน