อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Hitit ประเทศตุรกี
1. ท่องจำคำศัพท์และการนำไปประยุกต์ใช้จริงในประโยคต่างๆ
ระดับแรก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนในระดับพื้นฐานควรท่องคำศัพท์อย่างน้อยวันละ 10 คำ ให้ได้อย่างน้อย 2,000-3,000 คำ นอกจากนั้นแล้วควรเรียนรู้วิธีการนำคำศัพท์เหล่านั้นไปใช้ในประโยครูปแบบง่ายๆ หลังจากนั้นก็เริ่มศึกษาหลักไวยากรณ์อย่างง่าย พร้อมกับการฝึกอ่าน แปลเรื่องสั้น นิทาน
ระดับที่สอง หลังจากการท่องจำคำศัพท์ได้อย่างน้อย 5,000 คำ แนะนำให้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับไวยากรณ์ฉบับสมบูรณ์ โดยเน้นการเรียนเรื่องไวยากรณ์ควบคู่กับการอ่านตำราวรรณกรรม หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร ฝึกแปลเท่าที่มีความสามารถพร้อมกับการเปิดหาคำศัพท์ในพจนานุกรมฉบับต่างๆ นอกจานั้นแล้วยังมีวิธีการอื่นๆ อีก เช่น การฟังวิทยุ ดูโทรศัพท์ การดูซีดีสารคดี การใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ซึ่งจะต้องทำกิจกรรมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ
หมายเหตุ การสนทนา และการพูดเป็นเรื่องของพรสวรรค์ของแต่ละคน และขึ้นอยู่กับการฝึกฝนกับเพื่อนๆ หรือการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงการฝึกพูดกับเจ้าของภาษาด้วยภาษามาตรฐาน (พุศหะฮฺหรือภาษาอัลกุรอาน)
2. การเรียนรู้วิธีการสร้างประโยคในภาษาอาหรับจากหนังสือไวยากรณ์อาหรับ
- รูปแบบประโยคของคำนามที่เริ่มต้นด้วยคำนาม (الجملة الإسمية)
1ـ إسم [مُبتدأ] + إسم [خَبَر]:
ـ محمّدٌ طالبٌ./ القائدُ شُجاعٌ./ هذا أخي./ الأستاذُ ذاهِبٌ إلى بغدادَ./ بغدادُ ذاهِبٌ إليها الأستاذُ./ بغدادُ ذُهِبَ إليها./ بغدادُ مذهوبٌ إليها.
2ـ [أداة] + إسم (إسم لأداة) + إسم [خبرها]:
كانَ اللهُ غفوراً رحيماً./ إنّ اللهَ غفورٌ رحيمٌ./ عسى اللهُ أنْ يغفرَ./ كادَ النّهرُ ينقضي./ ليس (ما) الطّالبُ مجتهداً./ لا إلهَ إلاّ الله.
3ـ إسم (مُضَاف) +إسم )مُضَاف إليه(:
ـ رَجُلٌ جميلُ الأخلاقِ./ هذا كِتابُ الأستاذِ./ بابُ بيتٍ./ خاتمُ فِضّةٍ.
4ـ إسم (مَوصُوف) + إسم )صِفَة(:
ـ جاءتْ المَرأةُ الجَميلةُ./ هذا تِلمِيذٌ نشيطٌ./ رَأيتُ المَرأةَ الجَميلةَ.
5 ـ عَطف: ـ المَعطُوف + أدَاةُ عَطف + العَطف :
جَاءَ سَليمٌ وسَعِيدٌ./ رَأيتُ المُعلّمَ والرّئيسَ.
- รูปแบบประโยคของคำนามที่เริ่มต้นด้วยคำกริยา (الجملة الفعلية)
1ـ فِعْلٌ + [فَاعِلٌ]:
ذهبَ الأستاذُ إلى بغدادَ./ إلى بغدادَ ذهبَ الأستاذُ./ ذهبَ إلى بغدادَ الأستاذُ./ كَفىبالله شهيداً./ ما جَاءَنا من بشير./ يَسرّني أنْ تنجحَ./ نعمَ العبدُ أيوّبُ./ بِئس الطّالبأحمدُ.
ـ فِعْلٌ (مَجهُول) + [نَائِب فَاعِلٌ]:
فُتحَ البابُ./ كُسي الفقيرُ ثوباً./ سُلّمَ على أحمدَ.
2ـ [أدَاةٌ] + فِعْلٌ + فَاعِلٌ :
إنْ تجتهدْ تنجحْ./مَنْ يطلب يجِدْ./ لمْ يَقُمْ أحمدُ./لا تكذِبْ./ لن يُفلحَ الكاذبونَ./ حتى يأتيَ أخي.
3ـ فِعْلٌ + فَاعِلٌ+ [مَفعُولٌ بهِ]:
ضَربَ مُحمدٌ زيداً./ كتبَ الرّسالةَ./ أكلتُ التّفاحةَ.
4ـ فِعْلٌ+ فَاعِلٌ+ مَفعُولٌ بهِ أوّل+ [مَفعُولٌ بهِ ثانِ]: (ظنّ وأخواتها):
جَعَل الأستاذُ الدّرسَ سَهلاً./ إتّخذَ الله إبراهيمَ خليلاً.
5ـ فِعْلٌ+ فَاعِلٌ أو مَفعُولٌ بهِ (مُميّز)+ [تمييز]:
طَابَ أحمدُ نفساً./ زَرعتُ الوَردَ في الحديقةِ./ أنا أكثرُ منكَ مالاً./ زَادَ الرّجُلُ عِلماً./ إشتعلَ الرّأسُ شيباً.
6ـ فِعْلٌ+فَاعِلٌ (مُستثنى منهُ) +أداة إستثناء +[مُستثنى]:
جاء الطّلابُ إلاّ نفساً./ ما جاءَ القومُ غيرُ سعيدٍ./ ما قامَ إلاّ زيدٌ.
3. รู้ถึงขั้นตอนการเรียนรู้ภาษาอาหรับ ประกอบด้วย
3.1การอ่านเพื่อความเข้าใจ
3.2 การฟังเพื่อความเข้าใจ
3.3 การฝึกพูด
3.4 การฝึกเขียน
4. รู้ถึงเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการศึกษา
4.1 กุญแจแห่งความสำเร็จเกิดจากความรัก และความชอบ และมีความสนใจในศาสตร์นั้นๆ
4.2 มีความมุ่งมั่น และตั้งเจตจำนงที่ดีในการศึกษา
4.3 มีความอดทนและความพยายามในการศึกษา
4.4 การฝึกฝนบ่อยๆ เพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญ
5. รู้ถึงสาเหตุแห่งความสำเร็จในการศึกษา
5.1 ผู้เรียน มีผลต่อความสำเร็จ 50%
5.2 ผู้สอนและการจัดการที่ดี มีผลต่อความสำเร็จ 25%
5.3 ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีผลต่อความสำเร็จ 25%
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น