ประกาศข่าว ยังไม่มีข่าวใหม่ครับ

Widgets

ศาสตร์อาหรับ: ภาษาอารบิก

ศาสตร์อาหรับ: ภาษาอารบิก
Arabic Science: The Language
แปลโดย ลานา อัมรีล



ทุกวันนี้เราจะเห็นว่าภาษาอังกฤษคือภาษากลางของศาสตร์แทบทุกด้าน รวมทั้งในวงการธุรกิจและสังคม ความโดดเด่นของภาษาอังกฤษในการเป็นสื่อของคนทั่วโลกนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 20 (ด้วยการการผงาดขึ้นมาของประเทศสหรัฐอเมริกาแต่รู้ไหมว่า 1,000 ปีก่อนหน้านี้ภาษากลางของโลกวิทยาศาสตร์และวิทยาการคือ ภาษาอารบิก! 
ช่วงยุคทองของศิลปวิทยาการอิสลามเมื่อ 1,000 ปีก่อน ภาษาอารบิกเป็นภาษาที่รวมนักปราชญ์ด้านต่างๆ ทั่วจักรวรรดิมุสลิมเข้าไว้ด้วยกัน ก่อให้เกิดตลาดความรู้ที่มีชีวิตชีวาจากซามาคานด์ (อุซเบกิสถาน) ไปจนถึงกอร์โดบา (อัล-อันดาลุส อาณาจักรมุสลิมสเปน) 
หนังสือที่ตีพิมพ์ในเอเชียกลางจะมีให้อ่านที่สเปนตอนใต้อย่างช้าสุดก็ภายในหนึ่งปีถัดมาศาสตราจารย์รอชดี ราเชด (Roshdi Rashedให้ความเห็นจากออฟฟิศของเขาที่ปารีส ฝรั่งเศส เขาเป็นนักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ผู้ถือกำเนิดในอียิปต์ วิทยาการอิสลามไม่เหมือนกับปรัชญากรีกที่ถ่ายทอดกันในด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเท่านั้น วิทยาการอิสลามกลับเผยแพร่ไปทั่วโลก
หนึ่งในตัวอย่างที่น่ายกย่องก็คือ หนังสือ กิตาบุลอิสติกมาล (Kitab al-Istikmal: Arabic,كتاب الإستكمالBook of Perfectionซึ่งเป็นตำราเรขาคณิตที่เขียนโดย ยูซุฟ อัล-มุตามาน (Yusuf al-Mu’tamanกษัตริย์ผู้ครองซาราโกซา (Zaragozaเมืองทางภาคเหนือของสเปนช่วงปี 1082-85(เมืองซาราโกซาโดนอาหรับยึดได้ในปี 714 เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น ซารากุสตา’ Saraqusta سرقسطةมุสลิมปกครองเมืองนี้มา 400 ปีเต็ม จนกระทั่งต่อมาในปี 1110 คริสเตียนถึงมายึดคืนไปได้ปรากฎว่า Maimonides (ค.ศ.1135-1204 เกิดในกอร์โดบา เสียชีวิตที่อียิปต์นักปรัชญาชาวยิวได้นำตำราเล่มนี้จากกอร์โดบาไปยังไคโร (อียิปต์) และก็อปปี้กันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไปแพร่หลายในแบกแดด ซึ่งเป็นศูนย์กลางโลกมุสลิมด้านตะวันออก (สเปนเป็นศูนย์กลางอิสลามด้านตะวันตก) และท้ายที่สุดในศตวรรษที่ 13 ก็ถูกตีพิมพ์ในเอเชียกลาง
บรรดานักวิทยาศาสตร์และนักปราชญ์มุสลิมมักรู้หลายภาษา พวกเขาเดินทางไป-มาภายในจักรวรรดิมุสลิมเป็นเรื่องปกติ และภาษากลางที่พวกเขาใช้ในการสื่อสารคือ ภาษาอารบิก นอกจากMaimonides แล้ว ยังมีนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่อย่างอัลฮาเซน (Alhazen หรือ อิบนุ อัล-ไฮษัม  Ibn Al-Haitham ค.ศ.965-1040) ที่ย้ายจากบาสรา (อิรัก) ไปสู่ไคโร (อียีปต์)” ราเชดกล่าว และทุกๆ ปียอดนักคณิตศาสตร์ของโลกอย่าง นัสรุดดีน อัล-ตูซี  (Nasir al-Din Al-Tusiค.ศ.1201-74) จะเดินทางจากโคระส่าน ทางตอนเหนือของอิหร่าน ไปยังอิรัก และไปยังอเลปโป ซีเรีย เพื่อสอนลูกศิษย์
แม้ว่ายามใช้ชีวิตปกตินักปราชญ์ผู้นั้นจะพูดภาษาเปอร์เซีย์หรือภาษาใดๆ ก็ตาม แต่เมื่อต้องเขียนงานวิชาการแล้ว พวกเขาจะเขียนเป็นภาษาอารบิกเท่านั้น เพื่อที่เพื่อนนักวิชาการของพวกเขาในแบกแดด(อิรัก), โทเลโด (อัล-อันดาลุส อาณาจักรมุสลิมสเปน), และมุมอื่นๆ ของจักรวรรดิมุสลิมจะเข้าใจได้,ราเชดอธิบายเพิ่มเติมอย่างเช่น โอมาร์ คัยยัม ได้เขียนบทกวีเป็นภาษาเปอร์เซีย (ที่โด่งดังที่สุดคือรุไบยาต) แต่เมื่อเขียนตำราคณิตศาสตร์แล้ว เขากลับเขียนเป็นภาษาอารบิก
ส่วนสื่อกลางในการสื่อสารระยะไกลระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในโลกมุสลิมโดยทั่วไปจะใช้กองคาราวารสินค้าและพิราบสื่อสาร ซึ่งจะเห็นว่าต่อมาในศตวรรษที่ 17 โลกก็ยังคงใช้สื่อกลางในการสื่อสารที่ไม่ต่างจากนักวิทยาศาสตร์โลกมุสลิมในศตวรรษที่ 11-12 เลย
แม้ภาษาอารบิกจะทรงอิทธิพลอย่างสูง แต่ภาษาอารบิกสำหรับนักปราชญ์ก็เริ่มต้นอย่างช้าๆ ก่อนวิทยาศาสตร์จะถือกำเนิดขึ้นมา ภาษาอารบิกเป็นภาษาสำหรับกวี ต่อมาก็กลายเป็นภาษาสำหรับศาสนาใหม่คือ อิสลาม แต่ก็มิได้เป็นภาษาที่ทรงอิทธิพลอย่างทันทีทันใด อาห์เมด จับบาร์ (Ahmed Djebbar), นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์, กล่าว
แม้ตอนต้นศตวรรษที่ 8 คอลีฟาฮ์แห่งราชวงศ์อุมัยยาได้ออกพระราชโองการให้หน่วยงานราชการ,โรงเรียน, ศาล, และองค์กรอื่นๆ ใช้ภาษาอารบิกเป็นภาษากลางในการสื่อสาร แต่ก็ใช้เวลาถึง 50-100 ปีก่อนที่แบกแดดจะกระตือรือล้นแปลตำราวิทยาศาสตร์จากภาษากรีก, ซีรีแอค, เปอร์เซีย, และอินเดีย มาเป็นภาษาอารบิก โดยใช้นักแปลร่วม 100 คนในช่วงศตวรรษที่ 9 และ 10, ซึ่งเรื่องนี้ระบุไว้โดย อิบนุ นาดีม (Ibn Nadim เสียชีวิตค.ศ.995ผู้เชี่ยวชาญบรรณานุกรมของศตวรรษที่ 10
บัยตุลฮิกมา’ (Bayt al-Hilmah) หรือ สภาวิชาการ’ (House of Wisdom) เป็นศูนย์กลางการแปลตำราวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอารบิก ตำราสำคัญๆ อย่าง Almagest ของปโตเลมี (Ptolemyหลังค.ศ.83-161 ปราชญ์ชาวกรีก) และ De Materia Medica ของ Dioscorides (ค.ศ.40-90 ปราชญ์ชาวกรีก) ถูกแปลออกมาหลายต่อหลายครั้งเพราะบรรดานักปราชญ์ต้องการให้มีเนื้อความถูกต้องสมบูรณ์ตามความหมายเดิมให้มากที่สุด

ภาพวาดสื่อถึง Bayt al-Hikmat หรือ บ้านแห่งปัญญา (House of Wisdom) ในกรุงแบกแดด  ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการ ที่เป็นดั่งศูนย์กลางความเฟื่องฟูและศูนย์รวมการศึกษาศิลปะวิทยาการอาหรับ

บัยตุลฮิกมา (Bayt al-Hikmah) หรือ สภาวิชาการ แห่งกรุงแบกแดด เป็นสถาบันวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิม 400 ปีเต็มจนกระทั่งกรุงแบกแดดถูกทำลายย่อยยับโดยกองทัพมองโกลในปี 1258 ที่นี่เป็นที่ที่นักวิชาการมุสลิมแปลตำราคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของกรีกมาเป็นภาษาอารบิก ซึ่งในเวลาต่อมาสภาวิชาการแห่งนี้เป็นที่กำเนิดของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญยิ่งทางเรขาคณิต ค้นพบความรู้ใหม่ๆ ในศาสตร์ด้านต่างๆ ตั้งแต่การศึกษาเกี่ยวกับน้ำไปจนถึงด้านการแพทย์


ด้วยเวลาที่ผ่านไป คำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และชื่อดวงดาวในภาษาอารบิกได้ถูกนำไปใช้ในภาษาอื่นเช่น อัลคาไล (alkali), อัลกอฮอล์ (alchhol), อัลจีบรา (algebra พีชคณิต), อัลกอริธึม(algorithm), อเลมบิก (alembic), อัลเคมี (alchemy), azimuth, elixir, nadir, zenith, Betelgeuse, aldebaran, Rigel, และ Mizar

หลังจากภาษาอารบิกเป็นภาษาของวงการวิทยาศาสตร์มา 700 ปีเต็ม ก็เริ่มลดความสำคัญลงในศตวรรษที่ 15 พร้อมๆ กับการขยายอาณาจักรของจักรวรรดิมุสลิมออตโตมันเติร์ก

ปี 1427 ตำราคณิตศาสตร์ของ อัล-กาชี  (Al-Kashi ค.ศ.1380-1429ชื่อ Risala al-Muhitiya (Treatise on the Circumference) ซึ่งเขาได้คำนวณค่า ไพ (pi) ได้ถึง 17 ตำแหน่ง ถือเป็นตำราวิทยาศาสตร์เล่มสำคัญท้ายสุดที่เขียนเป็นภาษาอารบิก แม้ต่อมาในศตวรรษที่ 16 ตะกียุดดีน (Taqi al-Din ค.ศ.1526-85) นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของราชสำนักออตโตมันจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับแสงและเครื่องจักรที่แสนวิเศษเป็นภาษาอารบิกก็ตาม ภาษาละตินได้ก้าวเข้ามาเป็นภาษาสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์แทนที่อารบิก

อย่างไรก็ตามในขณะที่ภาษาอารบิกเป็นภาษาสำหรับชนทุกชั้น และทำให้ชาวมุสลิมทั่วไปสามารถเข้าถึงความรู้ระดับสูงได้ ภษาละตินกลับใช้กันเฉพาะในแวดวงวิชาการและนักบวช ทำให้ความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ถูกอนุรักษ์ไว้เฉพาะชนชั้นสูงของสังคมเท่านั้น.


อ้างจาก : Rediscovering Arabic Science. Saudi Aramco World. May/June 2007. Volume 58 Number 3.


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น